วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
ขณะนี้ who พบผู้ป่วยหวัดใหญ่2009ทั่วโลกกว่า15,000ราย
วันนี้(1 มิ.ย.) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า วานนี้(31 มิ.ย.) ตามเวลาท้องถิ่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขชิลี ยืนยันพบผู้ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 รายใหม่เพิ่มอีก 26 คน ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วประเทศเพิ่มเป็น 276 คน ในจำนวนนี้ มีเพียง 3 คน ที่มีอาการหนักและเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล
ด้านองค์การอนามัยโลก เผยข้อมูลล่าสุดว่า พบผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ทั่วโลกกว่า 15,500 ราย มีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 110 ราย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเกรงว่า ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่จะแพร่ระบาดต่อไปในซีกโลกใต้เนื่องจากใกล้เข้าฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล
สำหรับผลการตรวจร่างกายผู้โดยสารบนเรือสำราญแปซิฟิก ดอว์น ราว 2,000 คน ที่เตรียมขึ้นฝั่งในนครซิดนีย์ นางแคร์รี แชนต์ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสำนักสาธารณสุขรัฐนิวเซาท์เวลส์ แถลงว่า ไม่พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่บนเรือแปซิฟิกดอว์น และไม่พบการแพร่เชื้อจากคนสู่คนบนเรือลำนี้ ทำให้ผู้โดยสารทั้งหมดได้รับอนุญาตให้ขึ้นฝั่งได้ในวันนี้.
ข่าว H1N1 ไข้หวัดใหญ่ 2009 - ไข้หวัดใหญ่ที่มีการแพร่ระบาดสู่มนุษย์ส่วนใหญ่ชนิด A
"ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ในการแพร่ระบาดของไข้หวัดสเปนมาจากการระบาดในระลอกที่ 2 และระลอกที่ 3 จึงมีความเป็นไปได้ว่า การแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 จะมีระลอกต่อมาอีก ฉะนั้นประชาชนต้องช่วยเฝ้าระวังอย่างเต็มที่"
[ข้อมูลจาก ที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล]
วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
H1N1 FLU:สธ.เผบพบคนไทยติดหวัด 2009 เพิ่มอีกราย แต่หายเป็นปกติแล้ว
'ผลตรวจเบื้องต้นพบว่าให้ผลเป็นบวก แพทย์ให้ยาต้านไวรัสทามิฟลู พร้อมส่งตัวอย่างสารคัดหลั่งไปตรวจที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในวันเดียวกัน และส่งผลมาที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในเช้าวันที่ 29 พฤษภาคม ผลการตรวจยืนยันเป็นบวกทั้ง 3 แห่งเมื่อวานนี้ ซึ่งอาการล่าสุดของผู้ป่วยมีอาการไอเล็กน้อย พักอยู่ที่บ้านกับลูกชายที่ร่วมเดินทางด้วยกัน ไม่มีอาการป่วย' นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าว
ทั้งนี้ส่งผลให้ประเทศไทยมีผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อดังกล่าวเพิ่มเป็น 3 ราย แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต โดยผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อ 2 รายแรกเป็นนักเรียนที่เดินทางกลับมาจากเม็กซิโกและติดเชื้อมาจากต่างประเทศ
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เมื่อวันที่ 28 พ.ค.ที่ผ่านมา สำนักระบาดวิทยาได้รายงานพบผู้ป่วยสงสัยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 จำนวน 1 ราย เป็นผู้หญิงอายุประมาณ 50 ปี เดินทางกลับมาจากสหรัฐ ซึ่งเริ่มป่วยเมื่อวันที่ 24 พ.ค.52 โดยมีอาการไอเล็กน้อยขณะที่อยู่ในสหรัฐ และมาถึงไทยในวันที่ 26 พ.ค.52 จึงเข้ารักษาตัวเป็นผู้ป่วยนอกที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ
โดยผู้ป่วยและญาติได้เดินทางไปเที่ยวที่สหรัฐและแคนาดาตั้งแต่วันที่ 13 พ.ค.52 และเมื่อวันที่ 15 พ.ค.52 ได้ลงเรือไปเที่ยวที่รัฐอลาสก้า ค้างคืนบนเรือ 7 คืน หลังจากขึ้นเรือในวันที่ 24 พ.ค.52 เริ่มมีอาการป่วย มีไข้ ไอ และเจ็บคอ แต่ในวันที่เดินทางกลับขณะอยู่บนเครื่องบินได้ใส่หน้ากากอนามัยป้องกันไว้ด้วย
สำหรับการติดตามผู้ร่วมเดินทางทั้งหมดอีก 8 คน ซึ่งได้เดินทางกลับถึงไทยแล้ว 7 คน มีอาการทางเดินหายใจ 2 คน แพทย์ได้เก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งส่งไปตรวจพิสูจน์แล้ว"
สำนักข่าวอินโฟเควสท์
วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
รัฐบาลฮ่องกงประกาศปรับมาตรการและวิธีจัดการไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่สำหรับการควบคุมระยะสุดท้ายและการบรรเทาระยะแรก
สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในฮ่องกง
ตามที่ทราบดีว่า หลายประเทศทั่วโลกกำลังประสบปัญหาการแพร่ระบาดและการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สาย พันธุ์ใหม่ ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่ฮ่องกงจะมีการติดต่อของโรคเป็นระยะเวลานานได้เช่น เดียวกัน แม้ว่าฮ่องกงจะใช้มาตรการด้านสุขอนามัยที่เข้มงวดที่สุดประเทศหนึ่งในโลก แล้วก็ตาม และเนื่องจากในแต่ละวันมีจำนวนนักท่องเที่ยวจากสหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่นที่เดินทางเข้าฮ่องกงสูงถึงกว่า 13,000 คน ฮ่องกงจึงจำเป็นต้องออกมาตรการควบคุมโรคในระยะเริ่มแรก
ทั้งนี้ ฮ่องกงได้ปฏิบัติตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกในการดูแลรักษาผู้ป่วยใน เบื้องต้น ได้แก่ การรักษาและแยกตัวผู้ป่วย ติดตามผู้เคยสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยเพื่อเฝ้าระวังหรือดูแลทางการแพทย์ รวมถึงการให้ยาโอเซลทามิเวียร์เพื่อป้องกันโรค อย่างไรก็ตาม อาจมีการปรับเปลี่ยนมาตรการควบคุมและบรรเทาอาการไปตามสถานการณ์
มาตรการการควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในฮ่องกง
สำหรับสถานการณ์ในฮ่องกงขณะนี้ ผู้เคยติดต่อสัมผัสกับผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่จำนวนกว่า 400 คนที่ถูกกักตัวเพื่อดูอาการในระยะแรก ทั้งที่ได้รับและไม่ได้รับต้านไวรัส พบว่าไม่แสดงอาการติดเชื้อ สำหรับการติดต่อสัมผัสกับผู้ป่วยสามรายนั้น พบว่ามีความเสี่ยงเพียงเล็กน้อยที่จะติดเชื้อ ข้อมูลทางการแพทย์ชี้ให้เห็นว่าปริมาณเชื้อไวรัสของผู้ที่ติดเชื้อและความ เสี่ยงในการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นก่อนแสดงอาการของโรคอยู่ในระดับต่ำมาก วิธีการรักษาผู้ป่วยยังรวมถึงการใช้ยาโอเซลทามิเวียร์เพื่อควบคุมปริมาณ เชื้อไวรัสในตัวผู้ป่วยและลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไวรัสสู่ผู้อื่น โดยเฉพาะเมื่อใช้ยาร่วมกับการดูแลรักษาร่างกายตนเองที่เพียงพอ อาทิ สวมหน้ากาก และรักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะมือ
มาตรการควบคุมโรคในระยะสุดท้าย
ในขณะที่โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกและลุกลามใน ทวีปอเมริกาเหนือรวมถึงประเทศใกล้เคียงอย่างญี่ปุ่นซึ่งมีการแพร่ระบาดใน ชุมชน เราได้ประเมินสถานการณ์ในฮ่องกงขณะนี้ว่ากำลังอยู่ในช่วงการควบคุมระยะสุด ท้ายของมาตรการควบคุมโรค และอาจเข้าสู่ช่วงการบรรเทาโรคหากตรวจพบว่ามีชาวฮ่องกงติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่เป็นรายแรก
สำหรับมาตรการควบคุมโรคในระยะสุดท้าย จะให้ยาป้องกันโรคภายใต้การสังเกตโดยตรงร่วมกับการเฝ้าระวังทางการแพทย์ ซึ่งจะต้องบันทึกเป็นรายงานประจำวันและรายงานต่อสถานรักษาพยาบาลภายใต้กรมอนามัยเพื่อทำการตรวจสอบทางการแพทย์และการให้ยาป้องกัน ทั้งนี้ เพื่อรับรองการให้ยาป้องกันโรคและการตรวจสอบอาการติดเชื้อโดยกรมอนามัย บุคคลที่ได้รับยาป้องกันโรคภายใต้การสังเกตโดยตรงร่วมกับการเฝ้าระวังทางการ แพทย์จะต้องได้รับการปฏิบัติถูกต้องตามมาตรฐานกฎระเบียบหากไม่ได้รับการกัก ตัว ผู้ที่อยู่ภายใต้การเฝ้าระวังทางการแพทย์จะได้รับคำแนะนำในการดูแลและ ป้องกันตัวเอง โดยแนะนำให้หลีกเลี่ยงการออกไปในสถานที่สาธารณะ สวมหน้ากาก และรักษาอนามัยส่วนตัว ผู้ที่ไม่ได้รับการให้ยาป้องกันภายใต้การสังเกตโดยตรงและอยู่ภายใต้การเฝ้า ระวังทางการแพทย์จะถูกกักตัว และอาจถูกจัดอยู่ในสถานการณ์พิเศษหากมีความจำเป็น
มาตรการชะลอการแพร่และบรรเทาความเสียหาย
ในขณะนี้ยังไม่พบชาวฮ่องกงที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ โดยเราจะยังคงใช้มาตรการพื้นฐานคือการเฝ้าระวังโรคทางการแพทย์และการให้ยา ป้องกันแก่ผู้ที่ได้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยเพื่อชะลอการแพร่กระจาย สำหรับในระยะการชะลอการแพร่และบรรเทาความเสียหายนี้ จะมีการใช้มาตรการทางสาธารณสุขที่จำเป็นหลายมาตรการด้วยกัน อาทิ การป้องกันการติดโรคด้วยตนเอง เช่น การดูแลความสะอาดของมือเพื่อป้องกันการแพร่กระจาย การใช้หน้ากากอนามัย การดูแลตัวเองของผู้ที่มีอาการป่วย การดูแลความสะอาดของสิ่งแวดล้อม การจำกัดพื้นที่ ซึ่งรวมถึง การปิดโรงเรียน แผนฉุกเฉินในที่ทำงาน ยกเลิกกิจกรรมที่มีการรวมกันเป็นหมู่คณะ การสำรองยาต้านไวรัสเพื่อใช้รักษาผู้ป่วย การให้ยาป้องกันแก่เจ้าหน้าที่อนามัย และผู้ให้บริการในภาคสาธารณะ
นอกจากนี้ ยังมีมาตรการพิเศษสำหรับกรณีที่พบชาวฮ่องกงติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ ใหม่เป็นรายแรก เช่น การเปิดสถานรักษาพยาบาลพิเศษ 7 แห่งที่อยู่ภายใต้องค์การบริหารโรงพยาบาลฮ่องกง (Hospital Authority) สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการของโรค และการเพิ่มมาตรการการรักษาความสะอาดและสุขอนามัยของสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน พร้อมทั้งกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผนการรับมือไข้หวัดใหญ่สาย พันธุ์ใหม่ เป็นต้น
ทั้งนี้ สำหรับระยะการชะลอการแพร่และบรรเทาความเสียหาย อาจมีการยกระดับมาตรการและวิธีการในอนาคตให้เป็นมาตรการเดียวกันที่ปฏิบัติ ในระยะการแพร่ระบาด ในกรณีที่การติดต่อของโรคยังดำเนินต่อไปและเห็นได้อย่างชัดเจน มาตรการจำกัดพื้นที่และกักตัวหรือการเฝ้าระวังทางการแพทย์สำหรับผู้สัมผัส ใกล้ชิดกับผู้ป่วยอาจใช้ไม่เป็นผลอีกต่อไป จึงต้องเพิ่มความสำคัญกับมาตรการในระยะการชะลอการแพร่และบรรเทาความเสียหาย
www.ThaiPR.net
วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
H1N1 FLU: สกัดการแพร่กระจายของไข้หวัดใหญ่ 2009
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 26 พฤษภาคม 2009 16:14:31 น.
รัฐบาลเกาหลีใต้เปิดเผยว่า รัฐบาลจะทุ่มงบประมาณ 1.84 หมื่นล้านวอน หรือ 14.6 ล้านดอลลาร์ เพื่อส่งเสริมการดำเนินการโดยหน่วยงานต่างๆ เพื่อสกัดการแพร่กระจายของไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า กระทรวงยุทธศาสตร์และการเงิน จะใช้งบประมาณ 3.3 ล้านดอลลาร์ไปกับการคุมเข้มการกักบริเวณนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในประเทศ และอีก 7.3 ล้านดอลลาร์กับการตรวจวินิจฉัย และให้การรักษาผู้ติดเชื้อ ส่วนอีก 4 ล้านดอลลาร์ จะถูกนำไปใช้ในการให้ความรู้เรื่องไวรัสและโรคแก่ประชาชน
ทั้งนี้ กระทรวงได้เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่อีกประมาณ 200 รายกระจายตามสนามบินและท่าเรือทั่วประเทศ เพื่อนำกล้องตรวจวัดอุณหภูมิและอุปกรณ์วินิจฉัยอื่นๆ ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงที่เกาหลีใต้พบผู้ติดเชื้อในประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา โดยมีผู้ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 ชนิดเอ แล้ว 27 ราย"
วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
H1N1 FLU: ผู้เชี่ยวชาญชี้ยอดผู้ติดเชื้อหวัดสายพันธุ์ใหม่พุ่งสูงกว่าที่สื่อรายงาน
โดยการระบาดในยุโรปและเอเชียนั้นแสดงให้เห็นว่าจะมีการระบาดที่ขยายวงกว้างเพิ่มขึ้นในอีก 3 ทวีป
ศูนย์ควบคุมและป้องกันเชื้อโรคของสหรัฐระบุว่าในทุกๆ 20 คนจะพบผู้ติดเชื้อ 1 คน
ซึ่งหมายความว่าประชาชนกว่า 100,000 คนทั่วประเทศอาจติดเชื้อไวรัสชนิด A (H1N1) ก็เป็นได้
ขณะที่ในอังกฤษนั้นมีการตั้งข้อสังเกตุว่า อาจมีจำนวนผู้ติดเชื้อมากกว่าที่ทางการรายงานมา
โดยผู้เชี่ยวชาญคาดว่า ยอดผู้เสียชีวิตและผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลช่วงฤดูร้อนนี้จะมีจำนวนสูงขึ้น
หลังจากที่ขณะนี้สหรัฐรายงานยอดผู้ติดเชื้ออย่างเป็นทางการทั้งสิ้น 6,552 ราย
แต่เขาคาดว่าที่จริงแล้วอาจมีผู้ติดเชื้อกว่า 100,000 รายในสหรัฐ
ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า
ขณะนี้มีรายงานยืนยันจำนวนผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่อยู่ที่ 12,022 รายใน 43 ประเทศ
ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 86 ราย โดยส่วนมากเป็นผู้ติดเชื้อในเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา
ซึ่งเป็นต้นตอของการแพร่ระบาดดังกล่าว และผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มักมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัดทั่วไป
ด้านสถานการณ์การระบาดในเอเชียนั้น ปรากฏว่าล่าสุดเกาหลีใต้ยืนยัน
ยอดผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เพิ่มอีก 12 รายในวันนี้ ส่งผลให้มียอดผู้ติดเชื้อทั้งสิ้น 22 ราย
ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขจีนกล่าวว่า
ชายวัย 46 ปีที่เดินทางกลับจากแคนาดาเมื่อวันที่ 21 พ.ค.ที่ผ่านมาเป็นผู้ป่วยรายที่ 9 ในประเทศ
ส่วนญี่ปุ่น ซึ่งมีรายงานว่าพบผู้ติดเชื้อมากที่สุดในเอเชีย เริ่มเปิดโรงเรียนเพื่อ
ทำการเรียนการสอนตามปกติ หลังจากเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่า
กลุ่มผู้ติดเชื้อไม่ปรากฏโรคแทรกซ้อนร้ายแรง
ณะที่ จิม บิชอฟเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขของออสเตรเลียคาดว่าจำนวนผู้ติดเชื้อ
ะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หลังมีรายงานยืนยันว่ามีชาวออสเตรเลียติดเชื้อแล้ว 17 ราย
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงาน
อินโฟเควสท์
แปลและเรียบเรียงโดย อรษา สงค์พูล/ปนัยดา โทร.0-2253-5050 ต่อ 323
วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (Influenza A H1N1)
* เป็นโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในคน แพร่ติดต่อระหว่างคนสู่คน
* ไม่พบว่ามีการติดต่อมาจากสุกร
* เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 (A/H1N1) ซึ่งเป็นเชื้อตัวใหม่ที่ไม่เคยพบทั้งในสุกรและในคน
* เป็นเชื้อที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ ซึ่งมีสารพันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่คน ไข้หวัดใหญ่สุกร และไข้หวัดใหญ่สัตว์ปีกด้วย
* เริ่มพบการระบาดที่ประเทศเม็กซิโก และแพร่ไปกับผู้เดินทางไปในอีกหลายประเทศ
* ระยะแรก กระทรวงสาธารณสุขใช้ชื่อโรคนี้ว่า “โรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโก” และเมื่อองค์การอนามัยโลกได้ประกาศชื่อเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมา จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1” และใช้ชื่อย่อว่า “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009”
เหตุใดจึงไม่ใช้คำว่าไข้หวัดสุกร (Swine flu)
* เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ใหม่ ในการรายงานโรคนี้ช่วงแรกในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Swine Flu” หรือไข้หวัดใหญ่สุกร
* โดยปกติแล้ว ไข้หวัดใหญ่สุกรเป็นโรคทางเดินหายใจที่เกิดขึ้นในสุกร มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่หลายชนิด เช่น H1N1, H1N2, H3N1 และH3N2 แต่ละชนิดมีหลากหลายสายพันธุ์
* ตามปกติการเกิดโรคในสุกร บางครั้งอาจมีผู้ติดเชื้อจากสุกรและป่วยซึ่งเกิดไม่บ่อยนัก การติดเชื้อเกิดโดยคนหายใจเอาละอองฝอยเมื่อสุกรไอ หรือจาม เข้าไป หรือการสัมผัสกับสุกร หรือสิ่งแวดล้อมที่สุกรอาศัยอยู่
* อย่างไรก็ตามเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโกนี้ ผลการตรวจวิเคราะห์ในระดับพันธุกรรมพบว่า เป็นเชื้อสายพันธุ์ใหม่ที่พบในคน และยังไม่เคยพบในสุกรมาก่อน และการระบาดดังกล่าว ไม่มีรายงานโรคนี้ระบาดในสุกรทั้งในเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา และผลการสอบสวนโรค ไม่พบผู้ใดติดโรคจากสุกร หากแต่เป็นการแพร่กระจายโรคจากคนสู่คนเท่านั้น
* ต่อมาวันที่ 1 พฤษภาคม 2552 องค์การอนามัยโลกได้เปลี่ยนการเรียกชื่อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่จากที่เคยเรียกว่า ไข้หวัดสุกร หรือ สไวน์ ฟลู (Swine Flu) และไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก เป็น “ไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1” (Influenza A H1N1)
* กระทรวงสาธารณสุขไทยจึงเปลี่ยนมาใช้ชื่อ “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1” และชื่อย่อว่า “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009” เพื่อสื่อให้ประชาชนเกิดความเข้าใจตรงกัน ไม่สับสนกับไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 ที่เกิดตามฤดูกาล ซึ่งเป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่คนละตัวกัน
เกิดการระบาดขึ้นที่ประเทศใดบ้าง
* ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมีนาคม 2552 เป็นต้นมา เริ่มพบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่และผู้ป่วยปอดบวม จากข้อมูลองค์การอนามัยโลก (ณ วันที่ 29 เมษายน 2552) มีผู้ป่วยที่มีผลยืนยัน ทางห้องปฏิบัติการ 257 รายใน 11 ประเทศ ในเม็กซิโก 97 ราย เสียชีวิต 7 ราย สหรัฐอเมริกา มีผู้ป่วย 109 รายใน 11 มลรัฐ ได้แก่ แคลิฟอร์เนีย 14 ราย เท็กซัส 26 ราย นิวยอร์ก 50 ราย แคนซัส 2 ราย แมสซาชูเซทส์ 2 ราย มิชิแกน 1 ราย โอไฮโอ 1 ราย อริโซนา 1 ราย อินเดียนา 1 ราย และ เนวาดา 1 ราย นอกจากนั้นยังพบผู้ป่วยติดเชื้อในออสเตรีย 1ราย แคนาดา 19 ราย เยอรมนี 3 ราย อิสราเอล 2 ราย เนเธอร์แลนด์ 1 ราย นิวซีแลนด์ 3 ราย สเปน 13 ราย และ สหราชอาณาจักร 8 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
* ท่านสามารถติดตามรายงานสถานการณ์โรคได้ที่ สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เคยพบเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้มีในประเทศไทยหรือไม่
* จากระบบการเฝ้าระวังโรคของประเทศ รวมทั้งการเฝ้าระวังผู้ป่วยและการเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการ ไม่เคยพบเชื้อสายพันธุ์ใหม่ดังกล่าวนี้
* ข้อมูลโรคไข้หวัดใหญ่ตั้งแต่ต้นปี 2552 จนถึงขณะนี้ พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์อื่น ๆ ตามฤดูกาล จำนวน 3,159 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต ซึ่งไม่แตกต่างกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2551
คนติดโรคนี้ได้อย่างไร
* คนส่วนใหญ่ติดโรคไข้หวัดใหญ่จากการถูกละอองฝอยไอจาม น้ำมูก น้ำลาย ของผู้ป่วยโดยตรง
* บางรายอาจได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น ผ้าเช็ดหน้า ลูกบิดประตู โทรศัพท์ แก้วน้ำ เป็นต้น
* ไม่มีรายงานการติดต่อจากการรับประทานเนื้อสุกร
ขณะนี้สามารถรับประทานเนื้อหมูหรือผลิตภัณฑ์จากหมู ได้อย่างปลอดภัยหรือไม่
* การบริโภคเนื้อหมูหรือผลิตภัณฑ์จากหมูที่ปรุงสุกนั้นปลอดภัย ไม่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้
* เนื่องจากไม่ใช่เชื้อไข้หวัดใหญ่สุกรตัวดั้งเดิมที่พบในสุกร ซึ่งแม้เป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่สุกรตัวดั้งเดิม การติดต่อจากสุกรก็เกิดได้น้อยมาก และติดต่อโดยการสัมผัสกับน้ำมูกน้ำลายสุกรป่วยเป็นหลัก
* นอกจากนั้น เชื้อไว้รัสไข้หวัดใหญ่ก็จะถูกทำลายได้ด้วยความร้อนจากการปรุงอาหารที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไปด้วย
อาการของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่มีอะไรบ้าง
* อาการใกล้เคียงกับอาการโรคไข้หวัดใหญ่ที่พบตามปกติ เช่น
- ไข้สูง
- ปวดศีรษะ
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- ไอ
- เจ็บคอ
- อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสียด้วย
* ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง สามารถหายป่วยโดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล แต่ผู้ป่วยหลายรายในเม็กซิโกมีอาการปอดอักเสบรุนแรง (หอบ หายใจลำบาก) และเสียชีวิต
มียาชนิดใดบ้างที่สามารถรักษาโรคนี้ได้
* ยาต้านไวรัสซึ่งใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่นี้ได้ผล คือ ยาโอเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) เป็นยาชนิดกิน และยา zanamivir เป็นยาชนิดพ่น
* แต่ผลการตรวจเชื้อไวรัสนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าเชื้อนี้ดื้อต่อยาต้านไวรัส amantadine และ rimantadine
* ยาต้านไวรัส oseltamivir จะให้ผลรักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ได้ดีที่สุด ถ้าผู้ป่วยได้รับยาเร็วภายใน 2 วันนับตั้งแต่เริ่มมีไข้
ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) ในไทย ขณะนี้มีพอเพียงหรือไม่
* ประเทศไทยได้สำรองยานี้ไว้พอเพียงสำหรับการรักษาผู้ป่วย ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรคได้สำรองยาที่นี้ไว้พอเพียง เพื่อการควบคุมการระบาดจากเชื้อสายพันธุ์ใหม่ ณ จุดเกิดเหตุ โดยสำรองยาพร้อมใช้ทั่วประเทศจำนวน 3,250,000 แคปซูล (สำหรับผู้ป่วย 325,000 ราย)
* และองค์การเภสัชกรรมกำลังนำวัตถุดิบที่สำรองมาผลิตยานี้ (GPO-A-Flu®) ได้สำหรับ 1,000,000 แคปซูล (สำหรับผู้ป่วย 100,000 ราย) ในอีก 4 วันข้างหน้า
* นอกจากนี้ ยังพร้อมที่จะเพิ่มกำลังการผลิตสูงสุดหากเกิดการระบาดใหญ่ ได้อีก 1,000,000 แคปซูล (สำหรับผู้ป่วย 100,000 ราย) ด้วย
มีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่นี้หรือไม่
* ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ แต่องค์การอนามัยโลกได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและบริษัทผู้ผลิต เร่งการผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ดังกล่าว
* ส่วนวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่ผลิตใช้อยู่ในปัจจุบันไม่สามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ได้
ก่อนเดินทางไปในพื้นที่ระบาด จะต้องรับประทานยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ เพื่อการป้องกันหรือนำยาติดตัวไปด้วยหรือไม่
* ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์เป็นยาควบคุมพิเศษ ใช้เพื่อการรักษาโรคตามคำสั่งของแพทย์ โดยต้องมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่ชัดเจน
* สำหรับประชาชนทั่วไปหรือผู้ที่จะเดินทางไปพื้นที่ระบาด กระทรวงสาธารณสุข ไม่แนะนำให้รับประทานยาเพื่อป้องกัน หรือนำติดตัวไปรับประทานเอง เนื่องจากยาดังกล่าวอาจมีผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ เป็นต้น และอาจเป็นสาเหตุเชื้อดื้อยาได้
การเดินทางไปยังพื้นที่ระบาด ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลก่อนไปหรือไม่
* ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานว่า วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลจะป้องกัน
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 ได้
* อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรังควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกัน
ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลก่อนเดินทางอย่างน้อย 2 สัปดาห์
ประชาชนควรปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง
1. การเดินทางไปยังพื้นที่ที่กำลังเกิดการระบาด
* หากไม่มีความจำเป็น ควรชะลอการเดินทางไปยังพื้นที่ที่กำลังเกิดการระบาดจนกว่าสถานการณ์จะยุติลง
* แต่ถ้าจำเป็นต้องเดินทาง ให้
- หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการไอ
- หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด
- หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อย ๆ หรือเช็ดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์
- ติดตามข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน
- ปฏิบัติตามข้อแนะนำของทางการในพื้นที่นั้นๆ อย่างเคร่งครัด
2. ผู้ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่เกิดการระบาด
* จะได้รับการแนะนำด้านสุขภาพจากทีมแพทย์ โดยให้หยุดพักผ่อนอยู่ที่บ้าน
เป็นเวลา 7 วัน และสังเกตอาการตนเองทุกวัน
* หากเกิดอาการของไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ ปวดเมื่อยเนื้อตัว ฯลฯ ควรสวมหน้ากากอนามัย
หรือใช้กระดาษทิชชูปิดปากจมูกทุกครั้งที่ไอจาม และรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที
* กรณีที่อาการไม่รุนแรง แพทย์จะอนุญาตให้รักษาตัวที่บ้านได้ ควรหยุดงาน หยุดเรียน
และงดไปในที่ชุมชน เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายเชื้อให้กับผู้อื่น
3. รักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดย
3.1 รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักและผลไม้
ดื่มน้ำสะอาดและนอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และสุรา
3.2 หมั่นล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการไอ จาม
3.3 หากพบว่ามีผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายโรคไข้หวัดใหญ่ภายในบ้าน หรือสถานที่ทำงานเดียวกัน
ต้องรีบแจ้งสำนักงานสาธารณสุข หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
เพื่อทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วและหน่วยงานรับผิดชอบเข้าดำเนินการป้องกันการแพร่ระบาดทันที
4. ติดตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด
* รวมทั้งข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข www.moph.go.th
* หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมงที่
- ศูนย์บริการข้อมูลทางฮ็อตไลน์ของศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน
ทางการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 1994
- ศูนย์ปฏิบัติการ ฯ กรมควบคุมโรค หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 3333
กระทรวงสาธารณสุขมีมาตรการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคนี้อย่างไรบ้าง
มาตรการสำคัญ ได้แก่
* การเร่งรัดและเพิ่มระดับความเข้มข้นการเฝ้าระวังโรคกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่และปอดอักเสบรุนแรง
* การตรวจคัดกรองผู้เดินทางระหว่างประเทศโดยติดตั้งเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิผู้เดินทาง
(Infrared Thermo Scanner) ที่สนามบินนานาชาติ
* การตรวจยืนยันเชื้อทางห้องปฏิบัติการ การดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย สำรองเวชภัณฑ์
อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ และอุปกรณ์อื่นที่จำเป็น
* การสื่อสารความเสี่ยง
* การให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ และให้บริการข้อมูลแก่ประชาชนผ่านศูนย์ฮ็อตไลน์
จัดทำข่าวแจก จัดการแถลงข่าว และจัดทำคำแนะนำประชาชนเผยแพร่ทางเว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น
หน้ากากอนามัยใช้ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดได้หรือไม่
* หน้ากากอนามัยทั่วไปใช้ในผู้ป่วย และบุคลากรที่ปฏิบัติงานกับผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่รุนแรง
* ควรใช้หน้ากากอนามัยชนิดพิเศษ ซึ่งจะช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อจากผู้ป่วยขณะไอจามได้
ผู้ป่วยต้องรับการรักษาที่ใด
* ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการตรวจรักษา หรือรับคำปรึกษาได้ที่สถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ทุกแห่ง
ทั้งภาครัฐและเอกชน
* หากมีอาการอ่อนๆ ควรขอรับคำแนะนำและรับยาจากเภสัชกร และรักษาตัวที่บ้าน
หรือขอรับคำแนะนำจากศูนย์ฮ็อตไลน์กรมควบคุมโรค
บุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องดูแลรักษาผู้ป่วย ควรปฏิบัติอย่างไร
ท่านสามารถติดตามข้อมูล และ รายละเอียดมาตรการป้องกันควบคุมโรคสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ได้ที่
สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ยอดติดเชื้อหวัดทะลุ1.2หมื่น ฮูแย้มวัคซีนพร้อมใช้เดือนหน้า
ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทั่วโลก พุ่งทะลุหลัก 12,000 คน ขณะที่รัสเซียพบผู้ติดเชื้อรายแรก องค์การอนามัยโลก เผยวัคซีนต้านไข้หวัดใหญ่มรณะพร้อมใช้เดือนหน้า
วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
H1N1 FLU: สธ.เตรียมทดสอบการดื้อยาโอเซลทามิเวียร์รักษาโรคหวัด 2009
เผยเตรียมทดสอบการดื้อยาของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 กับยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์
แม้จะพบว่าเชื้อที่ดื้อยาส่วนใหญ่เป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ซึ่งคาดจะใช้เวลาดำเนินการไม่เกิน 1 เดือน
'ในส่วนของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 กระทรวงสาธารณสุขจะทำการทบทวน
และนำเชื้อทดสอบมาทดสอบกับยาโอเซลทามิเวียร์ เนื่องจากขณะนี้ได้ทำการแยกเชื้อ
จากผู้ป่วยที่ยืนยัน 2 รายได้แล้ว คาดว่าจะใช้เวลาทดสอบไม่เกิน 1 เดือน' นพ.ไพจิตร์ วราชิต
รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะทำงานฯ กล่าวถึงประเด็นที่ระบุว่า
เชื้อไข้หวัดใหญ่ในไทย 70% มีปัญหาดื้อยาโอเซลทามิเวียร์
รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เพื่อความไม่ประมาทและความรอบคอบในการใช้ยาตัวนี้
กระทรวงสาธารณสุขได้ประชุมชี้แจงแพทย์ผู้ให้การรักษาทั่วประเทศแล้ว 1 ครั้ง และพยายามลดการใช้ยา
กำหนดให้ใช้ได้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น โดยเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่อยู่ในห้องปฏิบัติการอยู่ใน
ความดูแลของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และห้องปฏิบัติการคณะแพทยศาสตร์ 2 แห่ง อยู่ในระดับ 3
ซึ่งเป็นระดับที่มีความปลอดภัยอย่างมากตามมาตรฐานสากลเช่นเดียวกับการดูแลเชื้อไข้หวัดนก
สำหรับในประเทศไทยขณะนี้มีผู้ป่วยอยู่ในข่ายเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นเป็น 22 ราย ซึ่งถือเป็นเรื่องดี
ต่อระบบการเฝ้าระวังของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แสดงว่าประชาชนรู้ข้อมูลและให้ความร่วมมือ
ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขมากขึ้น โดยหลังจากกลับจากต่างประเทศที่เป็นพื้นที่เสี่ยง
เมื่อมีไข้ก็เดินทางมาพบแพทย์ทันที การที่มีผู้ป่วยในข่ายเฝ้าระวังจำนวนมากขึ้นไม่ได้หมายความว่าประเทศไทย
มีโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่แพร่ระบาดในพื้นที่
ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยต่างชาติอยู่ในข่ายเฝ้าระวัง 3 ราย ประกอบด้วย ชาวสวีเดน 2 ราย
และมาจากฮ่องกง 1 ราย
โดยชาวสวีเดนอาศัยอยู่ในเมืองไทยเดินทางไปที่อินโดนีเซีย 14 วัน และไปที่มาเลเซียด้วยก่อนเข้าประเทศไทย
เมื่อวิเคราะห์ประวัติและเส้นทางเดินทางของชาวสวีเดนรายนี้ไม่น่าห่วง ซึ่งกำลังตรวจสอบตัวอย่างที่ส่งมาจาก
โรงพยาบาลสมุทรปราการว่าติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่หรือไม่ ส่วนรายฮ่องกงนั้นจัดเป็นผู้ป่วยที่อยู่ในระบบตามปกติ"
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าวคุณภาพจาก infoquest
วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
H1N1 FLU: เม็กซิโกยกเลิกคำสั่งห้ามเกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในเมืองหลวง
ในเมืองเม็กซิโก ซิตี้ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศแล้ว
ส่งผลให้ประชาชนไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ
นายมาร์เซโล เอบราด นายกเทศมนตรีเม็กซิโก ซิตี้ กล่าวว่า
จนถึงขณะนี้ยังไม่รายงานเรื่องผู้ติดเชื้อรายใหม่ในเม็กซิโก ซิตี้
ในช่วงระยะเวลา 1 สัปดาห์ โดยยอดผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ในเม็กซิโก
ล่าสุดอยู่ที่ 78 ราย และมีผู้ติดเชื้อแล้วประมาณ 4,000 ราย
ในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่อย่างหนักในประเทศนั้น
ทางการเม็กซิโกได้สั่งปิดโรงเรียน บาร์ และโรงหนัง เป็นเวลา 5 วัน
แต่ต่อมาก็ได้ยกเลิกคำสั่งห้ามดังกล่าว
นายกเทศมนตรีเม็กซิโก ซิตี้ กล่าวว่า ทางการได้ลดระดับการเตือนภัย
จากระดับสีเหลืองมาเป็นระดับสีเขียว ซึ่งเป็นระดับการเตือนภัยในระดับต่ำสุด
พร้อมกับยอมรับว่า ตอนนี้ทางการสมารถเบาใจได้ในระดับหนึ่ง
ตอนนี้สามารถเดินทางเข้ามาในเม็กซิโก ซิตี้ ได้โดยไม่มีความเสี่ยงแล้ว
อย่างไรก็ดี ขอให้ประชาชนตื่นตัวรับฟังข่าวสารเอาไว้
องค์การอนามัยโลก (BBC) ระบุว่า มีประเทศ 41 ประเทศทั่วโลกที่พบผู้ติดเชื้อ
ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ จำนวน 11,034 ราย มีผู้เสียชีวิตแล้ว 85 ราย
บีบีซีรายงาน"
ขอขอบคุณข่าวคุณภาพจาก
infoquest
วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
ผู้ติดเชื้อ H1N1 ญี่ปุ่นทะลุ 200 รายแล้ว
ผู้ป่วยต้องสงสัยติดเชื้อ H1N1 ในไทย 22 ราย
องค์การอนามัยโลกร่วมประชุมที่นครเจนีวา เตรียมรับมือกับการระบาดของไข้หวัดใหญ่ A-H1N1 Audio Clip Available
วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
WHO เรียกชื่อใหม่ เป็น ไข้หวัดใหญ่ A (H1N1)
องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศว่า นับจากนี้ไป
WHO จะเรียกชื่อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่มีต้นตอในเม็กซิโก
และได้แพร่ระบาด ลุกลามไปในหลายภูมิภาคของโลกว่า
“ไข้หวัดใหญ่ A (H1N1)” หรือ influenza A (H1N1)
จากที่เคยเรียกว่า “ไข้หวัดหมู” หรือ swine flu
เนื่องจากชื่อเดิมได้สร้างความสับสนว่าโรคดังกล่าวเกิดจากหมู
ทั้งที่จริงแล้วไวรัสนี้เกิดจากการการรวมกันของไวรัสในหมู คน และนก
จึงทำให้เกิดไวรัสกลายพันธุ์
WHO ชี้แจงด้วยว่า ขณะนี้ ได้ตรวจพบเชื้อไวรัสนี้ในคนเท่านั้น
และไม่พบว่าหมูป่วยเป็นโรคนี้ ดังนั้นการบริโภคเนื้อหมูที่ปรุงสุก
จึงไม่มีความเสี่ยงติดเชื้อไวรัส
พร้อมกันนี้ ยังได้มีการนำภาพหมูออกจากเว็บไซต์ www.who.int/en ด้วย
ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกได้รับแรงกดดันจากผู้เลี้ยงสุกรและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งได้รับผลกระทบหลังจากที่หลายประเทศได้ระงับการนำเข้าเนื้อหมูจากสหรัฐ อเมริกาและเม็กซิโก
เนื่องจากเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ดังกล่าวมาก ที่สุด
และมีผู้เสียชีวิตแล้วด้วย
ความเคลื่อนไหวของ WHO ในครั้งนี้ยังมีขึ้นหลังจากที่วานนี้
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐ ออกแถลงการณ์ที่ทำเนียบขาวว่า
รัฐบาลสหรัฐตัดสินใจเปลี่ยนชื่อไวรัสไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก
หรือไข้หวัดหมู (swine flu) เป็น “ไข้หวัดใหญ่ 2009 H1N1″
เพื่อแก้ความเข้าใจผิดที่ว่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้เกิดจากหมู
จนทำให้บางประเทศยกเลิกนำเข้าเนื้อหมูจากสหรัฐ
การป้องกันโรค ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เม็กซิโก (ไข้หวัดหมู,H1N1)
-หลีกเลี่ยงการไปตลาดค้าสัตว์ รวมถึงฟาร์มสุกรในพื้นที่เกิดโรค
-ห้ามสัมผัสสิ่งที่อาจปนเปื้อนมูลของสุกร
-ห้ามสัมผัสกับสุกรที่ป่วยหรือตาย
คำแนะนำสำหรับการปรุงอาหารจากหมู
-ป้องกันไม่ให้อาหารที่ปรุงสุกแล้วสัมผัสกับอาหารที่ยังไม่ได้ปรุง
-ล้างมือทุกครั้งก่อนและหลังทำอาหาร
-อาหารประเภทหมูต้องปรุงให้สุกเสมอ ใช้อุณหภูมิในการปรุงสุก มากกว่า 70 องศาเซลเซียส
-หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อหมู เลือดหมูสดในอาหารจำพวก ลาบดิบ หลู้ รวมถึงเนื้อหมู สุกๆดิบๆ
ต้องมีสุขอนามัยที่ดีเพื่อป้องกันโรค
-ล้างมือเป็นประด้วยสบู่และน้ำสะอาด
-ปิดปากเมื่อไอหรือจาม
-เมื่อเป็นไข้หวัด ควรใช้ผ้าปิดปาก จมูก และไปพบแพทย์
-ห้ามถ่มน้ำลา หรือเสมหะ ในที่สาธารณะ
-ใช้ช้อนกลาง เมื่อรับประทานอาหารร่วมกัน
ระมัดระวังเมื่อเดินทางไปพื้นที่เสี่ยง
-หากจำเป็นต้องไปในพื้นที่เสี่ยง ควรพบแพทย์เพื่อรับการฉีดวัคซีน
-ป้องกันไข้หวัดใหญ่ เพราะหากเราป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่แล้วได้รับเชื้อไข้หวัดหมู
เชื้ออาจกันและกลายพันธุ์ได้
-ควรหลีกเลี่ยง
- การสัมผัสสุกร
- การสัมผัสสุกร
- การสัมผัสคนที่มีอาการป่วย
สอบถามหรือค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซท์ของกระทรวงสาธารณสุข
*โหลดไฟล์ PDF เพื่อนำไปปรินท์เป็นเอกสารเพื่อเผยแพร่
การรักษาไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เม็กซิโก (ไข้หวัดหมู,H1N1)
-ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค (ข้อมูล ณ วันที่ 28 เมษายน 2552 )
-วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เดิม ไม่สามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์นี้ได้
-ในปัจจุบัน มียา 2 ชนิดที่สามารถลดความรุนแรงและระยะเวลาการป่วยที่มีสาเหตุมาจากไวรัส
ไข้หวัดสายพันธุ์นี้ ได้แก่ยา Oseltamivir (Tamiflu) Zanamivir (Relenza)
แต่เชื้อโรคมีแนวโน้มดื้อยาได้
*โหลดไฟล์ PDF เพื่อนำไปปรินท์เป็นเอกสารเพื่อเผยแพร่
การแพร่กระจายของโรค ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เม็กซิโก (ไข้หวัดหมู, H1N1)
-เชื้อไวรัสอยู่ในมูลและสารคัดหลั่งจากตัวหมู ซึ่งมีอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานหลายวัน
-คนติดเชื้อจากสัตว์โดย
- สัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่ป่วยหรือตายด้วยโรคนี้
- สัมผัสสิ่งแวดล้อมทีปนเปื้อนเชื้อในพื้นที่ๆเกิดการระบาด
-เชื้อไวรัสจะอยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย แพร่ไปยังผู้อื่น โดยอาการไอ
หรือ จามรดกันในระยะไกล้ชิด หรือติดจากมือ และสิ่งของที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่
และเชื้อเข้าสู่ร่างกายทางจมูกและตา เช่นการแคะจมูก การขยี้ตา
อาการ ผู้ติดไวรัส ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์เม็กซิโก
ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์เม็กซิโก มีอาการคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ เช่น
-มีไข้สูง เกิน 38 องศาเซลเซียส และ หนาวสั่น
-ปวดเมื่อยตามร่างกาย
-ไอแห้งๆและเจ็บคอ
-คัดจมูก มีน้ำมูกไหล
-ปวดศรีษะ
บางคนอาจมีอาการหายใจหอบตาอักเสบและอาจตามมาด้วยการติด
เชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง และปอดอักเสบตามลำดับ
*โหลดไฟล์ PDF เพื่อนำไปปรินท์เป็นเอกสารเพื่อเผยแพร่
ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เม็กซิโก-H1N1 คืออะไร
ไวรัส สายพันธ์ เอช 1 เอ็น 1 สาเหตุของโรค อาศัยอยู่ในสารคัดหลั่ง
และมูลของสุกร สามารถติดต่อและก่อให้เกิดโรคในคนได้
ดังนั้นผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค คือ ผู้ที่สัมผัสกับตัวสุกรโดยตรง และผู้ป่วยหรือ
ผู้ต้องสงสัยว่าป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เม็กซิโก
ที่สำคัญไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธ์นี้ สามารถแพร่ระบาดจากคนสู่คนได้ง่าย
*โหลดไฟล์ PDF เพื่อนำไปปรินท์เป็นเอกสารเพื่อเผยแพร่