วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ทานกล้วยน้ำว้า ก่อภูมิต้านทานไข้หวัดใหญ่ 2009

กล้วยน้ำว้าเสริมภูมิต้านหวัด09 (ไอเอ็นเอ็น) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ฯ เผย พุงทะลายและกล้วยน้ำว้าเสริมภูมิคุ้มกันต้านไข้หวัด09 ระบุ มีคุณสมบัติไม่แตกต่างจากฟ้าทะลายโจร นางฉันทรา พูนศิริ นักวิชาการฝ่ายเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า วว.ได้ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาพืชสมุนไพรที่สามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้ ช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่ และโดยเฉพาะไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 โดยได้ศึกษาสารอาหารจากพืชผัก ผลไม้ สมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์เพิ่มภูมิคุ้มกัน จำนวน 20 ชนิด ได้แก่ แครอท ถั่วเหลือง เม็ดแมงลัก โดยนำมาทดสอบฤทธิ์กระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวของมนุษย์ พบว่า สารสกัดพุงทะลายและกล้วยน้ำว้า มีคุณสมบัติเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายได้จริง เนื่องจากมีสารบางชนิดกระตุ้นเม็ดเลือดขาว ชนิดไม่เฉพาะเจาะจง ซึ่งสามารถจับและทำลายเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรียได้ทันที รวมทั้งยังต้านการอักเสบที่เกี่ยวเนื่องกับระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย นอกจากนี้ ทีมนักวิจัยยังทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลัน ความเป็นพิษกึ่งเรื้อรัง และฤทธิ์การก่อกลายพันธุ์ พบว่า พืชผักดังกล่าวมีความปลอดภัยต่อการบริโภค นักวิจัยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ทีมวิจัยได้สกัดสารสำคัญของพุงทะลาย และกล้วย โดยนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดเม็ด โดยได้จดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับบริษัท ศรีสิงหรา จำกัด อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ระหว่างขอจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก่อนจะจำหน่ายเชิงพาณิชย์ต่อไป ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีคุณสมบัติไม่แตกต่างจากฟ้าทะลายโจร เพียงรับประทานวันละ 1 เม็ด ก็จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

INN

วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ผู้ติดหวัด 2009 ชาวไทยเสียชีวิตแล้ว 65 ราย

รองปลัดฯสธ. ระบุ ผู้ติดหวัด 2009 ชาวไทยเสียชีวิตแล้ว 65 ราย โดย 41 ราย เป็นผู้อยู่กลุ่มเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง อีก 24 ราย เป็นผู้ไม่มีโรคประจำตัว ส่วนใหญ่เข้ารับการรักษารพ.ล่าช้า

(29ก.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ม.ล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา โรงพยาบาลศิริราช พญ.สยมพร ศิรินาวิน ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ศาสตราจารย์ นพ.ยง ภู่วรวรรณ ศูนย์ไวรัสวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และรศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ แพทย์โรคระบบทางเดินหายใจ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะ แถลงข่าวความคืบหน้าของสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1

โดยนพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า สำนักระบาดวิทยารายงานข้อมูลรอบสัปดาห์ตั้งแต่วันที่ 22-28 กรกฎาคม 2552 มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 65 ราย ใน 27 จังหวัด แยกเป็นภาคกลาง 13 จังหวัด ภาคอีสาน 6 จังหวัด ภาคเหนือ 4 จังหวัด และภาคใต้ 4 จังหวัด หญิง 30 ราย ชาย 35 ราย พบทุกกลุ่มอายุ โดย 41 ราย เป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง มากที่สุดคือ โรคหัวใจและหลอดเลือด 14ราย เบาหวาน 9 ราย อ้วนน้ำหนักตัวมากกว่า 100 กิโลกรัม 9 ราย โรคปอดหรือสูบบุหรี่จัด 7 ราย ไตวายเรื้อรัง 6 ราย กินยากดภูมิต้านทาน 4 ราย โรคระบบเลือดและตั้งครรภ์ อย่างละ 3 ราย โรคตับและพิการแต่กำเนินอย่างละ 2 ราย

ในส่วนของผู้เสียชีวิตที่เหลืออีก 24 ราย ที่เป็นผู้ไม่มีโรคประจำตัว ส่วนใหญ่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลล่าช้า หลังป่วยแล้วถึง 6 วัน ทำให้การให้ยาต้านไวรัสไม่ได้ผลดี สำหรับข่าวที่ว่ามีผู้เสียชีวิต 66 รายนั้น ผู้ป่วยไม่ได้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่ แต่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย ต่อมาโรงพยาบาลรามาธิบดีได้มีการประชุมและแจ้งให้ทราบ กระทรวงสาธารณสุขจึงขึ้นทะเบียนผู้เสียชีวิตยืนยันเพียง 65 รายเท่านั้น

ทั้งนี้ มาตรการลดผู้ป่วยหนักและลดการเสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ กระทรวงสาธารณสุขได้มีมาตรการตามคำแนะนำของ คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาวิชาการและยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์และสาธารณสุขระดับ ชาติ ซึ่งมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ เป็นประธาน เพื่อเตรียมพร้อมป้องกันและควบคุมแก้ไขสถานการณ์การระบาดของไข้หวัดใหญ่ โดย 1.เร่งให้ความรู้กับแพทย์ทุกคนในการดูแลรักษาตามแนวทางการรักษาพยาบาลผู้ ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และ 2.กระจายยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ให้คลินิกทั่วประเทศ ตามมาตรฐานการดำเนินงาน 8 ข้อ ดังนี้

1.คลินิกทั่วประเทศจะต้องมีแพทย์เป็นผู้ดูแลและเป็นผู้สั่งจ่ายยาได้ เท่านั้น 2.คลินิกจะต้องจัดส่งรายงานหลักฐานการจ่ายยาและอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ ยา ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหรือกระทรวงสาธารณสุขทุกวัน 3.คลินิกจะต้องมีมาตรการป้องกันการติดเชื้อในคลินิกทุกแห่ง 4.คลินิกที่ต้องการมียาต้านไวรัสไว้ในคลินิก จะต้องสมัครเข้าร่วมโครงการและแพทย์ในคลินิกทุกคนจะต้องได้รับการอบรม และประเมินความรู้ความเข้าใจที่เพียงพอ 5.ให้คลินิกมีการส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาล 6.คลินิกควรมีกลไกในการติดตามผู้ป่วยทุกรายหลังการรักษา 7.ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจัดระบบการตรวจสอบคลินิกที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งในเรื่องมาตรฐานการดูแลรักษา การสั่งจ่ายยา การป้องกันการติดเชื้อในคลินิกทุกเดือน

8.คลินิกที่เข้าร่วมโครงการ จะต้องปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยของกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด เนื่องจากโรคมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งในบ่ายวันนี้ กระทรวงสาธารณสุขจะจัดส่งมาตรการดังกล่าว ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ นำไปให้คลินิกทุกแห่งในพื้นที่ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

สำหรับปัญหาการดื้อยาต้านไวรัสโอเซลทามีเวียร์ ขณะนี้พบ 5 ราย ใน 4 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น 2 ราย แคนาดา เดนมาร์ค และฮ่องกง แห่งละ 1 ราย แต่ยังไม่พบในไทย การดื้อยาดังกล่าวเป็นสัญญาณเตือนให้ทุกประเทศต้องเฝ้าระวังการใช้ยาอย่าง ใกล้ชิด และให้ยาอย่างระมัดระวังอย่างที่สุด โดยใช้รักษาผู้ป่วยเพื่อยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัส จะไม่ใช้เพื่อป้องกันเพราะไม่ได้ผล ซึ่งในประเทศไทย ยานี้จัดเป็นยาควบคุมพิเศษ ไม่มีขายตามร้านขายยาทั่วไป มีเฉพาะในโรงพยาบาลรัฐและเอกชน และคลินิกที่เข้าโครงการเท่านั้น อย่างไรก็ตามประเทศที่มีการดื้อยาก็ยังคงใช้ยาตัวเดิม ขณะเดียวกันต้องมีการสำรองยาต้านไวรัสคือ ยาซานามิเวียร์ (Zanamivir) สำหรับเชื้อดื้อยา เป็นยาตัวที่ 2 ตามมาตรฐานสากล เพื่อรองรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ ซึ่งไทยได้สั่งซื้อจำนวน 20,000 ชุดใช้งบประมาณทั้งหมด 9 ล้านบาท

นอกจากนั้น รัฐบาลได้อนุมัติให้กระทรวงสาธารณสุข เพิ่มขีดความสามารถของห้องไอซียูในการดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤต โดยเพิ่มเครื่องช่วยหายใจชนิดพิเศษ ให้โรงพยาบาลขนาดใหญ่ทั่วประเทศ รวม 210 เครื่อง เป็นเครื่องสำหรับผู้ใหญ่ 180 เครื่อง และสำหรับเด็ก 30 เครื่อง ใช้งบประมาณ 180 ล้านบาท เพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

สำหรับการดูแลในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีประมาณปีละ 800,000 คน ได้ให้ อสม. ออกแนะนำและคัดกรองหญิงตั้งครรภ์ที่ป่วยทุกหมู่บ้าน/ชุมชน ประมาณ 80,000 แห่ง สำหรับสถานพยาบาล ให้ปรับการนัดตรวจครรภ์ให้ห่างขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงรับเชื้อในโรงพยาบาลเมื่อมาฝากครรภ์ และจัดระบบเยี่ยมบ้านหรือติดตามอาการทางโทรศัพท์อย่างทั่วถึง ในส่วนของหอผู้ป่วยทุกแห่ง ขอให้ผู้ที่เป็นไข้หวัดงดเยี่ยมผู้ป่วยเป็นการชั่วคราว เพื่อป้องกันการแพร่ไปสู่ผู้ป่วย ซึ่งมีภูมิต้านทานต่ำอยู่แล้ว โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ เด็กอ่อน ผู้สูงอายุ ควรหลีกเลี่ยงการไปเยี่ยมผู้ป่วยในโรงพยาบาล เพราะมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย

From:


วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เมืองผู้ดี ยอดติดเชื้อ หวัดใหญ่ 2009 พุ่ง - ยอดขายหน้ากากก็พุ่ง

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ -- ร้านขายยาในอังกฤษเปิดเผยว่า หน้ากากอนามัย เครื่องวัดอุณหภูมิ และเจลฆ่าเชื้อแบคทีเรียขายดีเป็นอย่างมาก หลังจากที่อังกฤษพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 รายใหม่เป็นจำนวนมากถึงกว่า 1 แสนรายในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ร้านขายยาบางแห่งถึงกับต้องบอกให้ลูกค้ารออีกหลายสัปดาห์เนื่องจากของในสต็อกหมดเกลี้ยง

อังกฤษเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากไข้หวัดใหญ่ 2009 มากที่สุดรองจากเม็กซิโกและสหรัฐที่พบผู้ติดเชื้อมากกว่า ล่าสุด อังกฤษมีผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่แล้ว 26 ราย รัฐบาลได้ตั้งบริการโทรสายด่วนขึ้นมาเพื่อให้ความรู้และช่วยเหลือประชาชนเรื่องการขอใบสั่งยาต้านไวรัส ซีเอ็นเอ็นรายงาน

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ไทยสังเวย 12 ชีวิต เหยื่อไข้หวัดใหญ่ 2009

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (9 ก.ค.) พล.ต.ท.นพ.สมยศ ดีมาก นายแพทย์ใหญ่รพ.ตำรวจเปิดเผยว่า ขณะนี้มีผู้ป่วยโรคไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009 เสียชีวิตเป็นรายที่ 12 โดยผู้ป่วยรายนี้เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร สน.บางนา อายุ 52 ปี เสียชีวิตตั้งแต่เวลา 19.30 น. วานนี้ (8 ก.ค.)

สำหรับผู้ป่วยรายนี้มีประวัติไตวายเรื้อรัง โดยเข้ารับการเปลี่ยนไตเมื่อ 8 ปีที่แล้ว และกินยากดภูมิคุ้มกันมาโดยตลอด ทั้งนี้ได้เข้ารับการรักษาอาการไข้หวัดที่รพ.ตำรวจ ตั้งแต่วันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา.

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

แพทย์ร่อน จม.เปิดผนึก แย้ง ก.สาธารณสุข ส่งสัญญานผิดเรื่องไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ (2009 swine flu)

6 กค.2552

เรียน สื่อมวลชนทุกท่าน

การ ที่กระทรวงสาธารณสุขบอกว่า การป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 นั้น สามารถทำได้ 3 อย่างคือ กินของร้อน ใช้ช้อนกลาง และหมั่นล้างมือ เท่านั้น

เป็น การส่งข่าวสารที่ไม่ครบถ้วนไปสู่ประชาชน ทำให้ประชาชนไม่สามารถระมัดระวังป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สาย พันธุ์ใหม่ 2009 และไม่สามารถควบคุมไม่ให้ผู้ป่วย แพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ (ดังจะเห็นได้จากการมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมากมาย ตัวเลขที่กระทรวงบอกว่า มีกี่รายนั้น อาจจะต่ำกว่าความเป็นจริง เพราะโรงพยาบาลไม่ได้ตรวจคัดกรอง หรือยืนยันว่าใครเป็นไข้หวัดใหญ่หรือไม่ ทุกๆ คน)


ทั้ง นี้ เพราะไวรัสไข้หวัดใหญ่นั้น จะทำให้เกิดอาการเหมือนไข้หวัดทั่วไป คือ มีไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล (เด็กๆ ก็จะมีทั้งน้ำมูก น้ำลายไหล)ใน น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ ของผู้ป่วยเป็นไข้ไหวัดใหญ่ จะมีเชื้อไวรัสชนิดนี้อยู่มาก


เมื่อ คนเป็นหวัดไอ หรือจาม โดยไม่ใช้ผ้าปิดปาก ปิดจมูก ก็จะทำให้มีเชื้อไวรัสแพร่กระจายออกมากับ ละอองน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะ ที่ไอ จาม หรืออาเจียนออกมา โดยละอองน้ำมูก น้ำลาย ฯลฯ ต่างๆ นี้ ก็จะมีเชื้อไวรัสปนออกมา ล่องลอยอยู่ในอากาศ


คน ที่อยู่ใกล้ชิด ที่หายใจเอาละอองน้ำมูกน้ำลาย ฯลฯ ของผู้ป่วย ก็จะได้รับเชื้อไวรัสเข้าไปในทางเดินหายใจโดยตรง ทำให้ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ได้ง่าย


ส่วน การที่ละอองน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ ที่หลั่งออกมาจากผู้ป่วย และแพร่กระจายโดยการไอหรือจาม ก็อาจจะแห้ง กลายเป็นละอองเล็กๆ ล่องลอยในอากาศ ผู้ที่สูดหายใจเอาละอองแห้งนี้เข้าไป ก็อาจติดหวัดได้


ฉะนั้น การป้องกันไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ไม่ว่าสายพันธุ์ใด จึงควรป้องกันการแพร่กระจาย โดยกาป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยไอ จาม สั่งน้ำมูก น้ำลาย เลอเทอะไปทั่ว โดยการใช้ผ้าปิดปาก ปิดจมูกเวลาไอ หรือจาม เพื่อไม่ให้ผู้ป่วย แพร่เชื้อไปยังผู้อื่นโดยปล่อยละอองน้ำมูก น้ำลาย ไปในอากาศ


ส่วน ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสแล้ว แต่ยังไม่มีอาการไข้หวัด (ระยะฟักตัว 1-3 วัน ก่อนมีอาการ)แต่เขาก็มีเชื้อโรคที่สามารถแพร่ไปสู่คนอื่นได้แล้ว


ฉะนั้น ลมหายใจ น้ำมูก น้ำลาย เขาก็มีเชื้อโรคอยู่แล้ว เขาจึงอาจแพร่เชื้อได้โดยการจาม


ฉะนั้น การจะป้องกันไม่ให้ผู้ป่วย หรือผู้ได้รับเชื้อโรคแล้ว(แต่ยังไม่มีอาการ)แพร่เชื้อไปสู่อากาศ ก็ควรจะให้ผู้ป่วยทุกคน ใส่ผ้าปิดปากปิดจมูก (mask) เวลาออกไปนอกบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อให้คนอื่น


ส่วน ผู้ยังไม่มีอาการ (ไม่ว่าจะได้รับเชื้อหรือไม่)ก็ควรจะมีผ้าปิดปากปิดจมูก เวลาออกไปยังที่ชุมนุมชน ทั้งนี้ เพื่อป้องกันตนเอง มิให้สูดเอาเชื้อไวรัสจากอากาศ


ใน โรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยเยอะๆ ในปัจจุบันนี้ บุคลากรในโรงพยาบาล จึงต้องใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก เพื่อป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อ และให้ผู้ป่วยใช้ผ้าปิดปากปิดจมูกเช่นกัน


หรือ คนอาจจะแพร่เชื้อให้คนอื่น จากการกินอาหารร่วมกัน โดยไม่ใช้ช้อนกลาง หรือมือของผู้ป่วยเอาไปเช็ดน้ำมูก น้ำลาย แล้วไปป้ายตาม ของเล่น (เด็ก)หรือจับประตู เอาน้ำมูกไปป้ายตามที่ต่างๆ ก็สามารถแพร่เชื้อไวรัสได้


การ ล้างมือจึงสำคัญมาก เพราะถ้ามือเราไปจับสิ่งที่เปื้อนน้ำมูกน้ำลาย แล้วเอามาขยี้จมูก หรือเอาใส่ปากอม(เด็ก)หรือหยิบของกิน ก็จะทำให้เราได้รับเชื้อไวรัสได้ จึงต้องหมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำ และสบู่


ห้อง น้ำสาธารณะตามตลาดสด และร้านอาหาร มักไม่ค่อยมีสบู่ไว้สำหรับฟอกมือ จึงควรจะมีข้อบังคับด้านสุขอนามัยจากเทศบาล หรือกระทรวงสาธารณสุข ชี้ชวน(น่าจะออกเป็นประกาศกระทรวงบังคับ)ให้ห้องน้ำในที่สาธารณะ ตลาด และร้านอาหาร ต้องมีสบู่ไว้ให้ประชาชนล้างมือหลังเข้าห้องน้ำ ให้ติดเป็นนิสัย


เพราะการล้างมือนั้น จะสะอาดปราศจากเชื้อโรคได้ ก็ต้องฟอกด้วยสบู่ทุกครั้ง ไม่ใช่ล้างน้ำเปล่าอย่างเดียว


และการล้างมือให้สะอาดนี้ นอกจากจะป้องกันโรคไข้หวัดแล้ว ยังป้องกันโรคท้องร่วง บิด อหิวาต์ ลำไส้อักเสบได้เป็นอย่างดีอีกด้วย


ขอให้ช่วยแพร่ข่าวนี้ด้วย เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไข้หวัดใหญ่ระบาดไปมากกว่านี้

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา

กุมารแพทย์

วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

รมว.สาธารณสุข ลั่น! ภายใน3เดือนคุมให้อยู่ การแพร่ระบาด A-H1N1

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ รายงานเข้ามาล่าสุด

รมว.สาธารณสุข สั่งการให้สาธารณสุขทุกจังหวัดควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่สาย พันธุ์ใหม่ 2009 ให้อยู่ในพื้นที่จำกัดภายใน 3 เดือน โดยผู้ป่วย 1 คนจะสามารถแพร่เชื้อสู่คนอื่นได้อีก 1-2 คน
"กำชับให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศเฝ้าระวังผู้ป่วยและควบคุม ป้องกันโรคในพื้นที่อย่างเข้มข้นช่วง 3 เดือนนับจากวันนี้ไป...ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 1 คนสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ 1-2 คน แต่การป้องกันโรคทำได้ไม่ยาก" นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข กล่าว
รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในประเทศไทย ขณะนี้มีการกระจายในวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ โดยพบผู้ติดเชื้อในประเทศอย่างต่อเนื่องแล้ว 41 จังหวัด และพบผู้ป่วยเป็นกลุ่มๆ หากไม่เข้มงวดเรื่องการควบคุมป้องกันโรคจะส่งผลให้มีการแพร่ระบาดยาวไปถึง สิ้นปี โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กนักเรียน ซึ่งอยู่ในข่ายเฝ้าระวังถึง 70%
"เด็กที่ป่วยส่วนใหญ่เมื่อมีอาการป่วยเล็กน้อยจะไม่ค่อยหยุดเรียนเพราะกลัว ขาดเรียน หรือหากหยุดเรียนก็ยังไม่หยุดการพบปะเพื่อนหรือออกนอกบ้าน ทำให้แพร่เชื้อให้ผู้อื่น และหายป่วยช้ากว่าปกติ" นายวิทยา กล่าว
วันนี้มีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ ใหม่เพิ่มอีก 154 ราย โดยเป็นนักเรียน 125 ราย อยู่ระหว่างการสอบสวนรายละเอียด 9 ราย ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อดังกล่าวสะสมตั้งแต่วันที่ 28 เม.ย.-3 ก.ค.52 มีจำนวน 1,710 ราย และมีผู้เสียชีวิต 5 ราย