วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
สาธารณสุขยะลาเตือนภัย 6 โรคมากับน้ำท่วม
นายแพทย์สวัสดิ์ อภิวัจนีวงศ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดยะลา พบน้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอยะหา รามัน กรงปินัง ธารโต บันนังสตา และอำเภอเมืองยะลา จึงได้สั่งการให้เครือข่ายบริการในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมเฝ้าระวังโรคติดต่อที่มากับน้ำท่วมและ ภายหลังน้ำลด โดยเน้น 6 โรคที่พบได้บ่อย ได้แก่ โรคฉี่หนูหรือโรคเลปโตสไปโรซิส อหิวาตกโรค ไข้ไทฟอยด์ โรคตับอักเสบ ตาแดง และไข้เลือดออก และให้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการผู้ประสบภัยฟรีพร้อมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการเกิดโรค และป้องกันการเสียชีวิตหลังเจ็บป่วย ซึ่งเครือข่ายสถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งในจังหวัด ได้เตรียมความพร้อมด้านเวชภัณฑ์ ยา สำหรับดูแลผู้ประสบภัย อย่างครบถ้วนเพียงพอ
alt
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา ยังกล่าวเตือนและขอความร่วมมือประชาชนที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขังอีกว่า ห้ามถ่ายอุจจาระหรือทิ้งขยะลงน้ำอย่างเด็ดขาด เนื่องจากจะทำให้น้ำสกปรก เสี่ยงเกิดโรคระบาดได้ง่ายโดยเฉพาะโรคที่ติดต่อทางอาหารและน้ำ เช่น ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค โรคตับอักเสบ รวมทั้งโรคตาแดง หากส้วมใช้การไม่ได้ ขอให้ถ่ายอุจจาระลงถุงดำหรือถุงพลาสติก หรือที่เรียกว่าส้วมมือถือ และทิ้งขยะลงในถุงดำหรือถุงพลาสติก และมัดปากถุงให้มิดชิดป้องกันแมลงวันตอม ก่อนนำไปทำลาย อีกทั้งสิ่งที่ผู้ประสบภัยขาดแคลนในช่วงที่มีน้ำท่วมขัง ก็คือน้ำดื่ม น้ำใช้ จึงขอให้ดื่มน้ำบรรจุขวดที่มีตราอย.หรือดื่มน้ำต้มสุก กินอาหารที่ปรุงสุกแล้ว ส่วนน้ำใช้นั้น สามารถนำน้ำท่วมมาปรับสภาพให้สะอาดและใช้ได้ โดยใช้สารส้มและคลอรีนเม็ด ใช้กับน้ำ 1 โอ่งมังกรใหญ่ โดยใช้สารส้มแกว่งน้ำให้ตกตะกอนก่อน และใส่คลอรีนเม็ด 1 เม็ด เพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำ จะทำให้น้ำสะอาดเท่าน้ำประปา อีกทั้ง ขอให้ประชาชนระมัดระวังในการทำความสะอาดบ้านเรือนหลังน้ำลด โดยจะต้องสวมรองเท้าเพื่อป้องกันการเกิดบาดแผลจากการเหยียบเศษวัสดุของมีคม ทำให้เป็นทางเข้าของเชื้อโรคได้ โดยเฉพาะโรคฉี่หนู
นายแพทย์สวัสดิ์กล่าวอีกว่านอกจากโรคระบาดดังกล่าวแล้ว เรื่องอุบัติเหตุ อุบัติภัย ก็ควรระมัดระวังเช่นกัน ได้แก่การป้องกันกระแสไฟฟ้าดูด จากปลั๊กไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เปียกชื้น อันตรายจากสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ แมลงป่อง ที่อาจจะหนีน้ำมาหลบอยู่ในบริเวณบ้าน รวมทั้งการลื่นล้มและการพลัดตกน้ำจมน้ำ โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ชอบเล่นน้ำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ พ่อแม่ ผู้ปกครองจึงต้องระมัดระวังคอยดูแลเป็นพิเศษ."
วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552
9 วิธีง่ายๆ ที่จะดูแลตัวเองให้พ้นจากไข้หวัด 2009 และช่วยลดการระบาด
1.วิธีที่ง่าย ที่สุดคือ หลีกเลี่ยงโอกาสเสี่ยงต่างๆ เช่น สถานที่แออัด โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า หรือจะเรียกว่า ปฏิบัติการอยู่บ้าน ต้านหวัด ก็ได้ นอกจากนั้นแล้วก็ต้องล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ ด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์
2. ระมัดระวังในการแตะต้องสิ่งของที่ต้องใช้ร่วมกับผู้อื่น เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได ปุ่มกดลิฟท์ เช่น อาจจะหาดินสอแท่งเล็กๆ ไว้สำหรับกดลิฟท์โดยเฉพาะ แต่ระวังอย่านำดินสอแท่งนั้นมาสัมผัสหน้าหรือนำเข้าปาก หรืออาจใช้ข้อศอกผลักประตูแทนการใช้มือ
3. หลีกเลี่ยงการจับมือ การทักทายด้วยการจุมพิต หรือกิจกรรมทางสังคมอื่นๆที่อาจต้องสัมผัสกับผู้อื่นอย่างใกล้ชิด เช่น งานเต้นรำ การกอดรัดแนบชิด เป็นต้นที่สำคัญหลีกเลี่ยงการเอามือจับจมูก ปาก ขยี้ตา อันเป็นโอกาสนำเชื้อที่อาจอยู่ที่มือเราเข้าไปสู่ร่างกายได้
4. ไม่สูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จะยิ่งทำให้คุณมีโอกาสเป็นไข้หวัดใหญ่ได้ง่ายขึ้น และอาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรงได้
5. เมื่อกลับถึงบ้าน ล้างมือ อาบน้ำ สระผมทันที ก็มีส่วนช่วยยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อโรค
6. ช่วยลดการระบาดด้วยการระมัดระวังเรื่องสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจเมื่ออยู่ ร่วมกับผู้คน (เช่น การไอหรือจาม) ถ้าไม่มีผ้าปิดปาก ให้ไอหรือจามใส่แขนเสื้อท่อนบน ก็จะช่วยให้เชื้อโรคอยู่เฉพาะบริเวณนั้น ไม่แพร่กระจายไปยังผู้อื่น (ไม่ใช้มือปิดปากเวลาไอหรือจาม เพราะมือจะเป็นตัวแพร่เชื้อโดยการสัมผัสต่อๆไป)
7. ล้างมือให้สะอาดหลังจากไอหรือจาม หรือหลังจากจับต้องสิ่งของที่อาจจะทำให้เกิดการแพร่เชื้อโดยผู้ที่ใช้ก่อน เรา แล้วเช็ดมือให้แห้งด้วยกระดาษทิชชูที่ใช้แล้วทิ้งเลย หลีกเลี่ยงการเช็ดมือกับผ้าที่ใช้ต่อๆ กัน
8. ใช้กระดาษทิชชูเวลาที่ต้องการสั่งน้ำมูก และทิ้งเมื่อไม่ใช้แล้ว และล้างมือ
9. หากใช้หน้ากากอนามัย ควรทิ้งหลังจากที่ใช้แล้วและล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังถอดหน้ากากอนามัย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.flu2009thailand.com
วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552
อาการ จาก ไข้หวัดใหญ่
1.ไข้หวัดใหญ่ที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน ระยะฟักตัว 1-4วัน โดยเฉลี่ย 2 วัน
ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียอย่างฉับพลัน เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดตามแขนขา ปวดข้อ ปวดรอบตา ไข้สูง 39-40 ํ c เจ็บคอและคอแดงมีน้ำมูกใสไหล ไอแห้งๆ ตามตัวจะร้อน แดง ตาแดง อาการอาเจียน หรือท้องเดิน ไข้เป็น 2-4 วันแล้วค่อยๆลดลงแต่อาการคัดจมูก และแสบคอยังคงอยู่โดยทั่วไปจะหายใน 1 สัปดาห์
2.สำหรับรายที่เป็นรุนแรงมักเกิดในผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังอยู่ก่อนมักจะเกิดโรคแทรกซ้อนที่ระบบอื่นด้วยเช่น
อาจพบการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก หรืออาการหัวใจวาย ผู้ป่วยจะเหนื่อยหอบ ระบบประสาท พบเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และสมองอักเสบผู้ป่วยจะปวดศีรษะมาก และซึมลง ระบบหายใจ มีหลอดลมอักเสบ และปอดบวมผู้ป่วยจะแน่นหน้าอก และเหนื่อย โดยทั่วไปไข้หวัดใหญ่มักจะหายในไม่กี่วัน แต่ก็มีผู้ป่วยบางรายมีอาการไอ และปวดตามตัวนาน 2 สัปดาห์ ส่วนผู้ที่เสียชีวิตมักจะเกิดจากปอดบวม และโรคหัวใจหรือโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่
ข้อมูลจาก : Siamhealth.net
วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ทานกล้วยน้ำว้า ก่อภูมิต้านทานไข้หวัดใหญ่ 2009
กล้วยน้ำว้าเสริมภูมิต้านหวัด09 (ไอเอ็นเอ็น) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ฯ เผย พุงทะลายและกล้วยน้ำว้าเสริมภูมิคุ้มกันต้านไข้หวัด09 ระบุ มีคุณสมบัติไม่แตกต่างจากฟ้าทะลายโจร นางฉันทรา พูนศิริ นักวิชาการฝ่ายเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า วว.ได้ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาพืชสมุนไพรที่สามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้ ช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่ และโดยเฉพาะไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 โดยได้ศึกษาสารอาหารจากพืชผัก ผลไม้ สมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์เพิ่มภูมิคุ้มกัน จำนวน 20 ชนิด ได้แก่ แครอท ถั่วเหลือง เม็ดแมงลัก โดยนำมาทดสอบฤทธิ์กระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวของมนุษย์ พบว่า สารสกัดพุงทะลายและกล้วยน้ำว้า มีคุณสมบัติเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายได้จริง เนื่องจากมีสารบางชนิดกระตุ้นเม็ดเลือดขาว ชนิดไม่เฉพาะเจาะจง ซึ่งสามารถจับและทำลายเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรียได้ทันที รวมทั้งยังต้านการอักเสบที่เกี่ยวเนื่องกับระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย นอกจากนี้ ทีมนักวิจัยยังทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลัน ความเป็นพิษกึ่งเรื้อรัง และฤทธิ์การก่อกลายพันธุ์ พบว่า พืชผักดังกล่าวมีความปลอดภัยต่อการบริโภค นักวิจัยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ทีมวิจัยได้สกัดสารสำคัญของพุงทะลาย และกล้วย โดยนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดเม็ด โดยได้จดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับบริษัท ศรีสิงหรา จำกัด อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ระหว่างขอจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก่อนจะจำหน่ายเชิงพาณิชย์ต่อไป ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีคุณสมบัติไม่แตกต่างจากฟ้าทะลายโจร เพียงรับประทานวันละ 1 เม็ด ก็จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
INN
วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ผู้ติดหวัด 2009 ชาวไทยเสียชีวิตแล้ว 65 ราย
รองปลัดฯสธ. ระบุ ผู้ติดหวัด 2009 ชาวไทยเสียชีวิตแล้ว 65 ราย โดย 41 ราย เป็นผู้อยู่กลุ่มเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง อีก 24 ราย เป็นผู้ไม่มีโรคประจำตัว ส่วนใหญ่เข้ารับการรักษารพ.ล่าช้า
(29ก.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ม.ล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา โรงพยาบาลศิริราช พญ.สยมพร ศิรินาวิน ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ศาสตราจารย์ นพ.ยง ภู่วรวรรณ ศูนย์ไวรัสวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และรศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ แพทย์โรคระบบทางเดินหายใจ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะ แถลงข่าวความคืบหน้าของสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1
โดยนพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า สำนักระบาดวิทยารายงานข้อมูลรอบสัปดาห์ตั้งแต่วันที่ 22-28 กรกฎาคม 2552 มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 65 ราย ใน 27 จังหวัด แยกเป็นภาคกลาง 13 จังหวัด ภาคอีสาน 6 จังหวัด ภาคเหนือ 4 จังหวัด และภาคใต้ 4 จังหวัด หญิง 30 ราย ชาย 35 ราย พบทุกกลุ่มอายุ โดย 41 ราย เป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง มากที่สุดคือ โรคหัวใจและหลอดเลือด 14ราย เบาหวาน 9 ราย อ้วนน้ำหนักตัวมากกว่า 100 กิโลกรัม 9 ราย โรคปอดหรือสูบบุหรี่จัด 7 ราย ไตวายเรื้อรัง 6 ราย กินยากดภูมิต้านทาน 4 ราย โรคระบบเลือดและตั้งครรภ์ อย่างละ 3 ราย โรคตับและพิการแต่กำเนินอย่างละ 2 ราย
ในส่วนของผู้เสียชีวิตที่เหลืออีก 24 ราย ที่เป็นผู้ไม่มีโรคประจำตัว ส่วนใหญ่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลล่าช้า หลังป่วยแล้วถึง 6 วัน ทำให้การให้ยาต้านไวรัสไม่ได้ผลดี สำหรับข่าวที่ว่ามีผู้เสียชีวิต 66 รายนั้น ผู้ป่วยไม่ได้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่ แต่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย ต่อมาโรงพยาบาลรามาธิบดีได้มีการประชุมและแจ้งให้ทราบ กระทรวงสาธารณสุขจึงขึ้นทะเบียนผู้เสียชีวิตยืนยันเพียง 65 รายเท่านั้น
ทั้งนี้ มาตรการลดผู้ป่วยหนักและลดการเสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ กระทรวงสาธารณสุขได้มีมาตรการตามคำแนะนำของ คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาวิชาการและยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์และสาธารณสุขระดับ ชาติ ซึ่งมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ เป็นประธาน เพื่อเตรียมพร้อมป้องกันและควบคุมแก้ไขสถานการณ์การระบาดของไข้หวัดใหญ่ โดย 1.เร่งให้ความรู้กับแพทย์ทุกคนในการดูแลรักษาตามแนวทางการรักษาพยาบาลผู้ ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และ 2.กระจายยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ให้คลินิกทั่วประเทศ ตามมาตรฐานการดำเนินงาน 8 ข้อ ดังนี้
1.คลินิกทั่วประเทศจะต้องมีแพทย์เป็นผู้ดูแลและเป็นผู้สั่งจ่ายยาได้ เท่านั้น 2.คลินิกจะต้องจัดส่งรายงานหลักฐานการจ่ายยาและอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ ยา ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหรือกระทรวงสาธารณสุขทุกวัน 3.คลินิกจะต้องมีมาตรการป้องกันการติดเชื้อในคลินิกทุกแห่ง 4.คลินิกที่ต้องการมียาต้านไวรัสไว้ในคลินิก จะต้องสมัครเข้าร่วมโครงการและแพทย์ในคลินิกทุกคนจะต้องได้รับการอบรม และประเมินความรู้ความเข้าใจที่เพียงพอ 5.ให้คลินิกมีการส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาล 6.คลินิกควรมีกลไกในการติดตามผู้ป่วยทุกรายหลังการรักษา 7.ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจัดระบบการตรวจสอบคลินิกที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งในเรื่องมาตรฐานการดูแลรักษา การสั่งจ่ายยา การป้องกันการติดเชื้อในคลินิกทุกเดือน
8.คลินิกที่เข้าร่วมโครงการ จะต้องปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยของกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด เนื่องจากโรคมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งในบ่ายวันนี้ กระทรวงสาธารณสุขจะจัดส่งมาตรการดังกล่าว ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ นำไปให้คลินิกทุกแห่งในพื้นที่ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
สำหรับปัญหาการดื้อยาต้านไวรัสโอเซลทามีเวียร์ ขณะนี้พบ 5 ราย ใน 4 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น 2 ราย แคนาดา เดนมาร์ค และฮ่องกง แห่งละ 1 ราย แต่ยังไม่พบในไทย การดื้อยาดังกล่าวเป็นสัญญาณเตือนให้ทุกประเทศต้องเฝ้าระวังการใช้ยาอย่าง ใกล้ชิด และให้ยาอย่างระมัดระวังอย่างที่สุด โดยใช้รักษาผู้ป่วยเพื่อยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัส จะไม่ใช้เพื่อป้องกันเพราะไม่ได้ผล ซึ่งในประเทศไทย ยานี้จัดเป็นยาควบคุมพิเศษ ไม่มีขายตามร้านขายยาทั่วไป มีเฉพาะในโรงพยาบาลรัฐและเอกชน และคลินิกที่เข้าโครงการเท่านั้น อย่างไรก็ตามประเทศที่มีการดื้อยาก็ยังคงใช้ยาตัวเดิม ขณะเดียวกันต้องมีการสำรองยาต้านไวรัสคือ ยาซานามิเวียร์ (Zanamivir) สำหรับเชื้อดื้อยา เป็นยาตัวที่ 2 ตามมาตรฐานสากล เพื่อรองรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ ซึ่งไทยได้สั่งซื้อจำนวน 20,000 ชุดใช้งบประมาณทั้งหมด 9 ล้านบาท
นอกจากนั้น รัฐบาลได้อนุมัติให้กระทรวงสาธารณสุข เพิ่มขีดความสามารถของห้องไอซียูในการดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤต โดยเพิ่มเครื่องช่วยหายใจชนิดพิเศษ ให้โรงพยาบาลขนาดใหญ่ทั่วประเทศ รวม 210 เครื่อง เป็นเครื่องสำหรับผู้ใหญ่ 180 เครื่อง และสำหรับเด็ก 30 เครื่อง ใช้งบประมาณ 180 ล้านบาท เพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สำหรับการดูแลในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีประมาณปีละ 800,000 คน ได้ให้ อสม. ออกแนะนำและคัดกรองหญิงตั้งครรภ์ที่ป่วยทุกหมู่บ้าน/ชุมชน ประมาณ 80,000 แห่ง สำหรับสถานพยาบาล ให้ปรับการนัดตรวจครรภ์ให้ห่างขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงรับเชื้อในโรงพยาบาลเมื่อมาฝากครรภ์ และจัดระบบเยี่ยมบ้านหรือติดตามอาการทางโทรศัพท์อย่างทั่วถึง ในส่วนของหอผู้ป่วยทุกแห่ง ขอให้ผู้ที่เป็นไข้หวัดงดเยี่ยมผู้ป่วยเป็นการชั่วคราว เพื่อป้องกันการแพร่ไปสู่ผู้ป่วย ซึ่งมีภูมิต้านทานต่ำอยู่แล้ว โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ เด็กอ่อน ผู้สูงอายุ ควรหลีกเลี่ยงการไปเยี่ยมผู้ป่วยในโรงพยาบาล เพราะมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย
From:
วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
เมืองผู้ดี ยอดติดเชื้อ หวัดใหญ่ 2009 พุ่ง - ยอดขายหน้ากากก็พุ่ง
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ -- ร้านขายยาในอังกฤษเปิดเผยว่า หน้ากากอนามัย เครื่องวัดอุณหภูมิ และเจลฆ่าเชื้อแบคทีเรียขายดีเป็นอย่างมาก หลังจากที่อังกฤษพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 รายใหม่เป็นจำนวนมากถึงกว่า 1 แสนรายในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ร้านขายยาบางแห่งถึงกับต้องบอกให้ลูกค้ารออีกหลายสัปดาห์เนื่องจากของในสต็อกหมดเกลี้ยง
วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ไทยสังเวย 12 ชีวิต เหยื่อไข้หวัดใหญ่ 2009
สำหรับผู้ป่วยรายนี้มีประวัติไตวายเรื้อรัง โดยเข้ารับการเปลี่ยนไตเมื่อ 8 ปีที่แล้ว และกินยากดภูมิคุ้มกันมาโดยตลอด ทั้งนี้ได้เข้ารับการรักษาอาการไข้หวัดที่รพ.ตำรวจ ตั้งแต่วันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา.
วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
แพทย์ร่อน จม.เปิดผนึก แย้ง ก.สาธารณสุข ส่งสัญญานผิดเรื่องไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ (2009 swine flu)
เรียน สื่อมวลชนทุกท่าน
การ ที่กระทรวงสาธารณสุขบอกว่า การป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 นั้น สามารถทำได้ 3 อย่างคือ กินของร้อน ใช้ช้อนกลาง และหมั่นล้างมือ เท่านั้น
เป็น การส่งข่าวสารที่ไม่ครบถ้วนไปสู่ประชาชน ทำให้ประชาชนไม่สามารถระมัดระวังป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สาย พันธุ์ใหม่ 2009 และไม่สามารถควบคุมไม่ให้ผู้ป่วย แพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ (ดังจะเห็นได้จากการมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมากมาย ตัวเลขที่กระทรวงบอกว่า มีกี่รายนั้น อาจจะต่ำกว่าความเป็นจริง เพราะโรงพยาบาลไม่ได้ตรวจคัดกรอง หรือยืนยันว่าใครเป็นไข้หวัดใหญ่หรือไม่ ทุกๆ คน)
ทั้ง นี้ เพราะไวรัสไข้หวัดใหญ่นั้น จะทำให้เกิดอาการเหมือนไข้หวัดทั่วไป คือ มีไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล (เด็กๆ ก็จะมีทั้งน้ำมูก น้ำลายไหล)ใน น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ ของผู้ป่วยเป็นไข้ไหวัดใหญ่ จะมีเชื้อไวรัสชนิดนี้อยู่มาก
เมื่อ คนเป็นหวัดไอ หรือจาม โดยไม่ใช้ผ้าปิดปาก ปิดจมูก ก็จะทำให้มีเชื้อไวรัสแพร่กระจายออกมากับ ละอองน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะ ที่ไอ จาม หรืออาเจียนออกมา โดยละอองน้ำมูก น้ำลาย ฯลฯ ต่างๆ นี้ ก็จะมีเชื้อไวรัสปนออกมา ล่องลอยอยู่ในอากาศ
คน ที่อยู่ใกล้ชิด ที่หายใจเอาละอองน้ำมูกน้ำลาย ฯลฯ ของผู้ป่วย ก็จะได้รับเชื้อไวรัสเข้าไปในทางเดินหายใจโดยตรง ทำให้ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ได้ง่าย
ส่วน การที่ละอองน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ ที่หลั่งออกมาจากผู้ป่วย และแพร่กระจายโดยการไอหรือจาม ก็อาจจะแห้ง กลายเป็นละอองเล็กๆ ล่องลอยในอากาศ ผู้ที่สูดหายใจเอาละอองแห้งนี้เข้าไป ก็อาจติดหวัดได้
ฉะนั้น การป้องกันไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ไม่ว่าสายพันธุ์ใด จึงควรป้องกันการแพร่กระจาย โดยกาป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยไอ จาม สั่งน้ำมูก น้ำลาย เลอเทอะไปทั่ว โดยการใช้ผ้าปิดปาก ปิดจมูกเวลาไอ หรือจาม เพื่อไม่ให้ผู้ป่วย แพร่เชื้อไปยังผู้อื่นโดยปล่อยละอองน้ำมูก น้ำลาย ไปในอากาศ
ส่วน ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสแล้ว แต่ยังไม่มีอาการไข้หวัด (ระยะฟักตัว 1-3 วัน ก่อนมีอาการ)แต่เขาก็มีเชื้อโรคที่สามารถแพร่ไปสู่คนอื่นได้แล้ว
ฉะนั้น ลมหายใจ น้ำมูก น้ำลาย เขาก็มีเชื้อโรคอยู่แล้ว เขาจึงอาจแพร่เชื้อได้โดยการจาม
ฉะนั้น การจะป้องกันไม่ให้ผู้ป่วย หรือผู้ได้รับเชื้อโรคแล้ว(แต่ยังไม่มีอาการ)แพร่เชื้อไปสู่อากาศ ก็ควรจะให้ผู้ป่วยทุกคน ใส่ผ้าปิดปากปิดจมูก (mask) เวลาออกไปนอกบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อให้คนอื่น
ส่วน ผู้ยังไม่มีอาการ (ไม่ว่าจะได้รับเชื้อหรือไม่)ก็ควรจะมีผ้าปิดปากปิดจมูก เวลาออกไปยังที่ชุมนุมชน ทั้งนี้ เพื่อป้องกันตนเอง มิให้สูดเอาเชื้อไวรัสจากอากาศ
ใน โรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยเยอะๆ ในปัจจุบันนี้ บุคลากรในโรงพยาบาล จึงต้องใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก เพื่อป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อ และให้ผู้ป่วยใช้ผ้าปิดปากปิดจมูกเช่นกัน
หรือ คนอาจจะแพร่เชื้อให้คนอื่น จากการกินอาหารร่วมกัน โดยไม่ใช้ช้อนกลาง หรือมือของผู้ป่วยเอาไปเช็ดน้ำมูก น้ำลาย แล้วไปป้ายตาม ของเล่น (เด็ก)หรือจับประตู เอาน้ำมูกไปป้ายตามที่ต่างๆ ก็สามารถแพร่เชื้อไวรัสได้
การ ล้างมือจึงสำคัญมาก เพราะถ้ามือเราไปจับสิ่งที่เปื้อนน้ำมูกน้ำลาย แล้วเอามาขยี้จมูก หรือเอาใส่ปากอม(เด็ก)หรือหยิบของกิน ก็จะทำให้เราได้รับเชื้อไวรัสได้ จึงต้องหมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำ และสบู่
ห้อง น้ำสาธารณะตามตลาดสด และร้านอาหาร มักไม่ค่อยมีสบู่ไว้สำหรับฟอกมือ จึงควรจะมีข้อบังคับด้านสุขอนามัยจากเทศบาล หรือกระทรวงสาธารณสุข ชี้ชวน(น่าจะออกเป็นประกาศกระทรวงบังคับ)ให้ห้องน้ำในที่สาธารณะ ตลาด และร้านอาหาร ต้องมีสบู่ไว้ให้ประชาชนล้างมือหลังเข้าห้องน้ำ ให้ติดเป็นนิสัย
เพราะการล้างมือนั้น จะสะอาดปราศจากเชื้อโรคได้ ก็ต้องฟอกด้วยสบู่ทุกครั้ง ไม่ใช่ล้างน้ำเปล่าอย่างเดียว
และการล้างมือให้สะอาดนี้ นอกจากจะป้องกันโรคไข้หวัดแล้ว ยังป้องกันโรคท้องร่วง บิด อหิวาต์ ลำไส้อักเสบได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
ขอให้ช่วยแพร่ข่าวนี้ด้วย เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไข้หวัดใหญ่ระบาดไปมากกว่านี้
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
กุมารแพทย์
วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
รมว.สาธารณสุข ลั่น! ภายใน3เดือนคุมให้อยู่ การแพร่ระบาด A-H1N1
รมว.สาธารณสุข สั่งการให้สาธารณสุขทุกจังหวัดควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่สาย พันธุ์ใหม่ 2009 ให้อยู่ในพื้นที่จำกัดภายใน 3 เดือน โดยผู้ป่วย 1 คนจะสามารถแพร่เชื้อสู่คนอื่นได้อีก 1-2 คน
"กำชับให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศเฝ้าระวังผู้ป่วยและควบคุม ป้องกันโรคในพื้นที่อย่างเข้มข้นช่วง 3 เดือนนับจากวันนี้ไป...ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 1 คนสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ 1-2 คน แต่การป้องกันโรคทำได้ไม่ยาก" นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข กล่าว
รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในประเทศไทย ขณะนี้มีการกระจายในวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ โดยพบผู้ติดเชื้อในประเทศอย่างต่อเนื่องแล้ว 41 จังหวัด และพบผู้ป่วยเป็นกลุ่มๆ หากไม่เข้มงวดเรื่องการควบคุมป้องกันโรคจะส่งผลให้มีการแพร่ระบาดยาวไปถึง สิ้นปี โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กนักเรียน ซึ่งอยู่ในข่ายเฝ้าระวังถึง 70%
"เด็กที่ป่วยส่วนใหญ่เมื่อมีอาการป่วยเล็กน้อยจะไม่ค่อยหยุดเรียนเพราะกลัว ขาดเรียน หรือหากหยุดเรียนก็ยังไม่หยุดการพบปะเพื่อนหรือออกนอกบ้าน ทำให้แพร่เชื้อให้ผู้อื่น และหายป่วยช้ากว่าปกติ" นายวิทยา กล่าว
วันนี้มีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ ใหม่เพิ่มอีก 154 ราย โดยเป็นนักเรียน 125 ราย อยู่ระหว่างการสอบสวนรายละเอียด 9 ราย ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อดังกล่าวสะสมตั้งแต่วันที่ 28 เม.ย.-3 ก.ค.52 มีจำนวน 1,710 ราย และมีผู้เสียชีวิต 5 ราย
วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552
ไทยสังเวยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ ใหม่ 2009 ตายแล้ว 2 ราย
วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552
เฝ้าระวังหวัดสายพันธุ์ใหม่ หวั่นเชื้อระบาดในโรงเรียน
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- 1 ชั่วโมง ที่แล้ว
สิงคโปร์ประกาศใช้มาตรการเฝ้าระวังการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ก่อนที่จะสั่งให้โรงเรียนหลายแห่งเปิดการเรียนการสอนอีกครั้งในวันที่ 29 มิ.ย.นี้ สถานีโทรทัศน์ Channel NewsAsia รายงานการเปิดเผยของกระทรวงศึกษาธิการของสิงคโปร์ว่า ทางกระทรวงฯจะออกคำสั่งให้บุคลากรและนักเรียนที่เพิ่งเดินทางกลับมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรคดังกล่าวให้สามารถลางานและไม่ต้องมาเรียนได้เป็นเวลา 7 วัน
รายงานข่าวระบุว่า โรงเรียนในสิงคโปร์จะส่งแบบฟอร์มการกรอกประวัติการเดินทางให้กับบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียน รวมไปถึงผู้ค้า และนักการภารโรงก่อนที่โรงเรียนจะเปิดทำการเรียนการสอน ขณะเดียวกันอาจารย์จะตรวจสอบแบบฟอร์มการเดินทางในวันแรกที่เปิดเรียนและดำเนินการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายวันละ 2 ครั้ง โดยทางกระทรวงฯเชื่อว่าจะมีนักเรียนและบุคลากรประมาณ 1-2% ที่เดินทางกลับจากประเทศที่มีการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ พร้อมทั้งเสริมว่า หากทางโรงเรียนใดพบผู้ติดเชื้อดังกล่าวก็จะสั่งให้ปิดเรียนและหยุดการเรียนการสอนตามความจำเป็น ทั้งนี้ สิงคโปร์ได้รายงานผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่รายแรกเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2552 และขณะนี้มีรายงานยอดผู้ติดเชื้อที่ 168 ราย ซึ่ง
วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552
ไข้หวัดใหญ่ A-H1N1 เป็นโรคระบาดแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 21
องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศให้ไข้หวัดใหญ่ A-H1N1เป็นโรคระบาดแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 21 แต่ย้ำไว้ด้วยว่า การยกระดับการเตือนภัยสำหรับโรคไข้หวัดใหญ่ที่กำลังแพร่ระบาดไปนี้ ไม่ได้หมายความว่า เชื้อไวรัสนี้มีฤทธิ์ร้ายแรงมากขึ้น
ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก Margaret Chan ประกาศการตัดสินใจในเรื่องนี้ หลังการประชุมผู้เชี่ยวชาญทางสาธารณสุขที่นครเจนีวา และว่าเป็นครั้งแรกที่มีการประกาศว่ามีโรคระบาดใหญ่ทั่วโลกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปีค.ศ. 1968 เป็นต้นมา แต่เจ้าหน้าที่ของ WHO ผู้นี้ย้ำว่า การระบาดครั้งนี้ไม่รุนแรงเช่นนั้น
ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกกล่าวว่า การเรียกว่าเป็นการระบาดครั้งใหญ่ เป็นการส่งสัญญาณให้กับประชาคมนานาชาติรับทราบ ว่าถึงเวลาที่ประเทศทั้งหลาย ทั้งที่ร่ำรวยและยากจน จะต้องร่วมมือกันด้วยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในโลก เพื่อทำให้แน่ใจว่าจะไม่มีประเทศใดถูกทอดทิ้งเพราะขาดทรัพยากร และจะไม่มีประชาชนของประเทศใดที่จะไม่ได้รับการช่วยเหลือ
ในอีกด้านหนึ่งนั้น การที่สามารถประกาศให้เป็นการระบาดครั้งใหญ่ได้ ก็เพราะมีการแพร่ระบาดตามชุมชนต่างๆ อย่างต่อเนื่องนอกทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่ง WHO ถือว่าเป็นไปตามเงื่อนไขของการให้คำจำกัดความของโรคระบาดครั้งใหญ่
องค์การอนามัยโลกรายงานว่า นับตั้งแต่พบเชื้อ A-HINI ในเมกซิโกและสหรัฐเมื่อเดือนเมษายนเป็นต้นมา เวลานี้พบเชื้อไวรัสนี้แล้วใน 74 ประเทศ มีผู้ป่วยเกือบ 30,000 คนและมีผู้เสียชีวิตเพราะโรคไข้หวัดใหญ่ A-HINI แล้ว 144 ราย ส่วนใหญ่ของผู้เสียชีวิตอยู่ในเมกซิโก
ประเทศที่มีผู้ป่วยมากที่สุดคือสหรัฐ ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 13,000 คน ในขณะที่ออสเตรเลียรายงานว่า มีผู้ล้มป่วยลงแล้วมากกว่า 1,200 คน
องค์การอนามัยโลกกล่าวไว้ด้วยว่า การประกาศว่ามีโรคระบาดครั้งใหญ่ครั้งนี้เป็นเรื่องสำคัญ ก็เพราะต้องการกระตุ้นให้ผู้ผลิตยา เร่งรัดการผลิตวัคซีนสำหรับไข้หวัดใหญ่นี้ และต้องการเห็นรัฐบาลประเทศต่างๆ เพิ่มค่าใช้จ่ายเพื่อจำกัดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนี้ด้วย
เจ้าหน้าที่ขององค์การอนามัยโลกเน้นว่า เชื้อไวรัส A-HINI ยังไม่มีฤทธิ์ร้ายแรง และมีผู้เสียชีวิตไม่มากนัก แต่ก็จะจับตาดูอย่างใกล้ชิดด้วยว่า จะมีการกลายพันธุ์อย่างไรหรือไม่ ซึ่งอาจจะทำให้เชื้อไวรัสมีความร้ายแรงขึ้นได้
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของสหรัฐ และองค์การสหประชาชาติเสริมไว้ด้วยว่า ไม่มีอันตรายจากโรคนี้จากการรับประทานเนื้อหมู และว่า วิธีป้องกันการติดเชื้อที่ดีที่สุดคือการล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีไข้หวัดใหญ่ระบาดทั่วโลกสามครั้งด้วยกัน รวมทั้งไข้หวัดใหญ่เสปนในปีค.ศ. 1918-1919 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตระหว่าง 40-50 ล้านคน และไข้หวัดใหญ่ฮ่องกงในปีค.ศ. 1968 ที่มีคนเสียชีวิตอย่างน้อยหนึ่งล้านคน
12/06/2009
วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552
โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 อัพเดทยอด ผู้ติดเชื้อในไทย
อัพเดทเมื่อ 18-06-2009
วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552
ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ในไทย 44 ราย รวมทั้งหมด 150 ราย
# กระทรวงสาธารณสุข ขึ้นทะเบียนผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 จำนวน 44 ราย รวมพบผู้ป่วยสะสม จำนวน 150 ราย ประชาชนไม่ควรตื่นตระหนก ขอความร่วมมือรณรงค์ป้องกันโรค รวมทั้งเน้นให้สวมหน้ากากอนามัยหากไม่สบาย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
วันนี้(14 มิถุนายน 2552) นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่าในวันนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศขึ้นทะเบียนพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ในประเทศไทยเพิ่มอีก 44 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยกลุ่มนักเรียนโรงเรียนเอกชน 29 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยเก่า ส่วนผู้ป่วยใหม่มี 15 ราย รวมผู้ป่วยในประเทศไทยสะสมทั้งหมด 150 ราย
ในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด ขณะนี้มีผู้ป่วยที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลปทุมธานี 7 ราย เนื่องจากญาติมีความกังวลใจ แต่ที่มีเหตุสมควรนอนรักษามีเพียง 2 ราย เนื่องจากมีอาการไข้สูงและรับประทานอาหารได้น้อย ส่วนที่พัทยามีนอนโรงพยาบาลเพียง 1 รายเนื่องจากมีเลือดกำเดาไหล ข้อมูลปัจจุบันจากการวิเคราะห์ผู้ป่วยที่นอนในโรงพยาบาลและการติดตามสอดคล้องว่าโรคนี้อาการไม่รุนแรง และขอยืนยันว่าธรรมชาติของโรคนี้จะคล้ายโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เก่าตามฤดูกาล โดยเฉพาะในฤดูฝน ซึ่งแต่ละปีจะพบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เก่าประมาณ 10,000 – 15,000 ราย ประชาชนไม่ควรตื่นตระหนก กระทรวงสาธารณสุขจะให้ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีอาการน้อย ควรพักผ่อนและรักษาตนเองอยู่ที่บ้าน 3 – 7 วัน หากมีอาการมากขึ้น ควรไปพบแพทย์ ระหว่างอยู่ที่บ้านควรหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้อื่น ให้ล้างมือบ่อยๆ และสวมหน้ากากอนามัย
สำหรับประชาชนทั่วไป ให้ดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ หากไม่สบาย เช่น มีน้ำมูกไหล มีไข้ต่ำๆ ไอ เจ็บคอ ให้สวมหน้ากากอนามัย และไปพบแพทย์รักษา
ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขขอความร่วมมือประชาชนและหน่วยงานทำความสะอาด ในสถานที่ต่างๆ เช่น โรงเรียน โรงแรม สถานที่ราชการ ผับ บาร์ และสถานที่สาธารณะที่ประชาชนใช้บริการหนาแน่น โดยเน้นการทำความสะอาด ของใช้หรือวัตถุที่มีโอกาสจับต้องร่วมกันบ่อยๆ เช่น โทรศัพท์สาธารณะ ราวบันได ลูกบิดประตู โต๊ะเก้าอี้ คีย์บอร์ดของคอมพิวเตอร์ โดยเช็ดด้วยน้ำและผงซักฟอกหรือน้ำยาทำความสะอาดทั่วไป หรือเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และจะรณรงค์ให้ผู้มีอาการไอ จาม สวมหน้ากากอนามัย เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อโรค ซึ่งเป็นการร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคม เป็นพฤติกรรมที่เป็นประโยชน์ ไม่ควรอายและไม่ควรรังเกียจผู้ที่สวมหน้ากากอนามัย
สำหรับสถานการณ์โลก องค์การอนามัยโลกรายงานเมื่อเช้าวันนี้ ตามเวลาในประเทศไทย มีผู้ป่วยยืนยันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 สะสมทั้งหมด 29,669 ราย ใน 74 ประเทศ เสียชีวิต 145 ราย เป็น เม็กซิโก 108 ราย สหรัฐอเมริกา 27 ราย แคนาดา 4 ราย ชิลี 2 รายและคอสตาริก้า สาธารณรัฐโดมินิกัน โคลัมเบีย กัวเตมาลา ประเทศละ 1 ราย ในประเทศไทยวันนี้มีผู้ป่วยยืนยันเพิ่ม 44 ราย เป็นผู้ป่วยใหม่ 15 ราย รวมผู้ป่วยสะสมตั้งแต่เมษายน -14 มิถุนายน 2552 ทั้งหมด 150 ราย ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการรักษาหายดีแล้ว ไม่มีผู้เสียชีวิต
********************************* 14 มิถุนายน 2552"
ชาวออสเตรเลีย เป็นไข้หวัดใหญ่ A H1N1 มากกว่า 1,200 รายแล้ว
รัฐวิคตอเรีย ซึ่งมีผู้เป็นไข้หวัดใหญ่ A H1N1มากกว่า 1,000 รายนั้นนับว่าเป็นที่ที่มีการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ดังกล่าว มากที่สุดในโลก เมื่อดูจากอัตราการติดเชื้อเป็นรายหัว รัฐวิคตอเรียนั้นมีผู้เป็นไข้หวัดใหญ่ A H1N1 แค่หยิบมือเดียวเมื่อสามสัปดาห์กว่าๆ มานี้เอง ออสเตรเลียมีคนติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ A H1N1มากที่สุดนอกเขตทวีปอเมริกาเหนือ
รัฐวิคตอเรีย และเมืองหลวงของรัฐคือเมลเบิร์น ยังคงเป็นบริเวณที่ไข้หวัดใหญ่ A H1N1 ระบาดมากที่สุด ในรัฐวิคตอเรีย ผู้ที่ทราบแน่แล้วว่า เป็นไข้หวัดใหญ่ดังกล่าวมีจำนวนกว่า 1,000 คน ผู้ป่วยหลายรายรับการบำบัดรักษาอยู่ตามโรงพยาบาล แต่ยังไม่มีผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าวที่ออสเตรเลีย แต่มุขมนตรีฝ่ายสาธารณสุขของรัฐควีนส์แลนด์ พอล ลูกาสกล่าวว่าการระบาดของไข้หวัดใหญ่ A H1N1 ในออสเตรเลียนั้นจะต้องมีผู้เสียชีวิตแน่
มีการงดจัดการแข่งขันกีฬานัดสำคัญๆ รวมถึงการแข่งขันว่ายน้ำระหว่างประเทศด้วย นักธุรกิจชั้นนำพยากรณ์ว่าการท่องเที่ยวจะซบเซาลงไปอย่างเป็นกอบเป็นกำ
สิงค์โปร์เร่งเร้า มิให้ชาวสิงค์โปร์เดินทางไปที่รัฐวิคตอเรีย เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องเสี่ยงมากเกินไป
ทางการของรัฐ นิว เซ๊าท์ เวลส์ และรัฐ เซ๊าท์ ออสเตรเลีย และที่กรุงแคนเบอร์รากล่าวว่าก่อนที่จะไปโรงเรียนเด็กๆ ที่เดินทางไปนครเมลเบิร์นควรพักอยู่กับบ้านหนึ่งสัปดาห์
แต่หัวหน้าฝ่ายบริหารของหอการค้า และอุตสาหกรรมของฝ่ายนายจ้าง เวนย์ เคเลอร์-ทอมสันคิดว่ามาตรการดังกล่าว เป็นการแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบมากเกินเหตุ และเป็นผลเสียต่อเศรษฐกิจของรัฐวิคตอเรีย
นักรักบี้อาชีพหลายคน โดนกักบริเวณหลังจากนักรักบี้คนหนึ่งติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ A H1N1 มีการงดการเดินขบวนสวนสนามของทหาร ใกล้กรุงแคนเบอร์รา หลังจากนักเรียนนายทหารนายหนึ่งเป็นไข้หวัดใหญ่ดังกล่าว
ขณะนี้ ไข้หวัดใหญ่ A H1N1 ระบาดไปยังทุกรัฐ และทุกดินแดนของออสเตรเลียแล้ว
อลีซ สปริง เมืองในทะเลทรายอันมีชื่อเสียง ทางภาคกลางของออสเตรเลีย ก็มีผู้เป็นไข้หวัดใหญ่ A H1N1 รายที่สองแล้ว
โรงเรียนหลายแห่ง ในภาคตะวันตกของออสเตรเลีย ส่งนักเรียนกลับบ้านขณะที่ผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 20 รายแล้ว
การระบาดของโรคข้างต้นนี้ เกิดที่เม็กซิโกก่อนเมื่อเดือนเมษายน ผู้เชี่ยวชาญกล่าวไว้แล้วว่าการผลิตวัคซีนที่ป้องกันไข้หวัดใหญ่ดังกล่าวได้ดีนั้น ยังจะต้องรอกันไปอีกหลายสัปดาห์"
วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552
ผู้ติดเชื้อหวัด2009รายที่10 ของไทย
สธ.พบผู้ติดเชื้อหวัด2009รายที่10เป็นหญิงวัย20กลับจากUSAยังกักดูอาการ
นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข เปิดเผยว่า
กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศขึ้นทะเบียนพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไข้หวัดใหญ่
สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1(H1N1) ในประเทศไทยเพิ่มอีก 1 ราย เป็นหญิงวัย
20 ปี นับเป็นรายที่ 10 โดยติดเชื้อมาจากต่างประเทศ
ขณะนี้แพทย์ได้รับตัวไว้ดูแลรักษาในโรงพยาบาล
โดยได้ส่งทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็วติดตามเฝ้าระวังผู้สัมผัสใกล้ชิด
เพื่อควบคุมป้องกันการแพร่เชื้ออย่างเต็มที่
อ่านต่อ
วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2552
วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552
ทำเนียบขาวจี้สภาคองเกรสเพิ่มเงินรับมือการระบาดของหวัดสายพันธุ์ใหม่
เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือในกรณีที่ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ระบาดเป็นวงกว้างมากขึ้น
โดยข้อเรียกร้องดังกล่าวมีขึ้นในขณะที่วุฒิสภาสหรัฐกำลังหารือถึงการเพิ่มเงิน
กว่า 2 พันล้านดอลลาร์ในงบประมาณการทำสงคราม"
วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
ขณะนี้ who พบผู้ป่วยหวัดใหญ่2009ทั่วโลกกว่า15,000ราย
วันนี้(1 มิ.ย.) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า วานนี้(31 มิ.ย.) ตามเวลาท้องถิ่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขชิลี ยืนยันพบผู้ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 รายใหม่เพิ่มอีก 26 คน ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วประเทศเพิ่มเป็น 276 คน ในจำนวนนี้ มีเพียง 3 คน ที่มีอาการหนักและเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล
ด้านองค์การอนามัยโลก เผยข้อมูลล่าสุดว่า พบผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ทั่วโลกกว่า 15,500 ราย มีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 110 ราย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเกรงว่า ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่จะแพร่ระบาดต่อไปในซีกโลกใต้เนื่องจากใกล้เข้าฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล
สำหรับผลการตรวจร่างกายผู้โดยสารบนเรือสำราญแปซิฟิก ดอว์น ราว 2,000 คน ที่เตรียมขึ้นฝั่งในนครซิดนีย์ นางแคร์รี แชนต์ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสำนักสาธารณสุขรัฐนิวเซาท์เวลส์ แถลงว่า ไม่พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่บนเรือแปซิฟิกดอว์น และไม่พบการแพร่เชื้อจากคนสู่คนบนเรือลำนี้ ทำให้ผู้โดยสารทั้งหมดได้รับอนุญาตให้ขึ้นฝั่งได้ในวันนี้.
ข่าว H1N1 ไข้หวัดใหญ่ 2009 - ไข้หวัดใหญ่ที่มีการแพร่ระบาดสู่มนุษย์ส่วนใหญ่ชนิด A
"ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ในการแพร่ระบาดของไข้หวัดสเปนมาจากการระบาดในระลอกที่ 2 และระลอกที่ 3 จึงมีความเป็นไปได้ว่า การแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 จะมีระลอกต่อมาอีก ฉะนั้นประชาชนต้องช่วยเฝ้าระวังอย่างเต็มที่"
[ข้อมูลจาก ที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล]
วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
H1N1 FLU:สธ.เผบพบคนไทยติดหวัด 2009 เพิ่มอีกราย แต่หายเป็นปกติแล้ว
'ผลตรวจเบื้องต้นพบว่าให้ผลเป็นบวก แพทย์ให้ยาต้านไวรัสทามิฟลู พร้อมส่งตัวอย่างสารคัดหลั่งไปตรวจที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในวันเดียวกัน และส่งผลมาที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในเช้าวันที่ 29 พฤษภาคม ผลการตรวจยืนยันเป็นบวกทั้ง 3 แห่งเมื่อวานนี้ ซึ่งอาการล่าสุดของผู้ป่วยมีอาการไอเล็กน้อย พักอยู่ที่บ้านกับลูกชายที่ร่วมเดินทางด้วยกัน ไม่มีอาการป่วย' นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าว
ทั้งนี้ส่งผลให้ประเทศไทยมีผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อดังกล่าวเพิ่มเป็น 3 ราย แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต โดยผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อ 2 รายแรกเป็นนักเรียนที่เดินทางกลับมาจากเม็กซิโกและติดเชื้อมาจากต่างประเทศ
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เมื่อวันที่ 28 พ.ค.ที่ผ่านมา สำนักระบาดวิทยาได้รายงานพบผู้ป่วยสงสัยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 จำนวน 1 ราย เป็นผู้หญิงอายุประมาณ 50 ปี เดินทางกลับมาจากสหรัฐ ซึ่งเริ่มป่วยเมื่อวันที่ 24 พ.ค.52 โดยมีอาการไอเล็กน้อยขณะที่อยู่ในสหรัฐ และมาถึงไทยในวันที่ 26 พ.ค.52 จึงเข้ารักษาตัวเป็นผู้ป่วยนอกที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ
โดยผู้ป่วยและญาติได้เดินทางไปเที่ยวที่สหรัฐและแคนาดาตั้งแต่วันที่ 13 พ.ค.52 และเมื่อวันที่ 15 พ.ค.52 ได้ลงเรือไปเที่ยวที่รัฐอลาสก้า ค้างคืนบนเรือ 7 คืน หลังจากขึ้นเรือในวันที่ 24 พ.ค.52 เริ่มมีอาการป่วย มีไข้ ไอ และเจ็บคอ แต่ในวันที่เดินทางกลับขณะอยู่บนเครื่องบินได้ใส่หน้ากากอนามัยป้องกันไว้ด้วย
สำหรับการติดตามผู้ร่วมเดินทางทั้งหมดอีก 8 คน ซึ่งได้เดินทางกลับถึงไทยแล้ว 7 คน มีอาการทางเดินหายใจ 2 คน แพทย์ได้เก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งส่งไปตรวจพิสูจน์แล้ว"
สำนักข่าวอินโฟเควสท์
วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
รัฐบาลฮ่องกงประกาศปรับมาตรการและวิธีจัดการไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่สำหรับการควบคุมระยะสุดท้ายและการบรรเทาระยะแรก
สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในฮ่องกง
ตามที่ทราบดีว่า หลายประเทศทั่วโลกกำลังประสบปัญหาการแพร่ระบาดและการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สาย พันธุ์ใหม่ ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่ฮ่องกงจะมีการติดต่อของโรคเป็นระยะเวลานานได้เช่น เดียวกัน แม้ว่าฮ่องกงจะใช้มาตรการด้านสุขอนามัยที่เข้มงวดที่สุดประเทศหนึ่งในโลก แล้วก็ตาม และเนื่องจากในแต่ละวันมีจำนวนนักท่องเที่ยวจากสหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่นที่เดินทางเข้าฮ่องกงสูงถึงกว่า 13,000 คน ฮ่องกงจึงจำเป็นต้องออกมาตรการควบคุมโรคในระยะเริ่มแรก
ทั้งนี้ ฮ่องกงได้ปฏิบัติตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกในการดูแลรักษาผู้ป่วยใน เบื้องต้น ได้แก่ การรักษาและแยกตัวผู้ป่วย ติดตามผู้เคยสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยเพื่อเฝ้าระวังหรือดูแลทางการแพทย์ รวมถึงการให้ยาโอเซลทามิเวียร์เพื่อป้องกันโรค อย่างไรก็ตาม อาจมีการปรับเปลี่ยนมาตรการควบคุมและบรรเทาอาการไปตามสถานการณ์
มาตรการการควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในฮ่องกง
สำหรับสถานการณ์ในฮ่องกงขณะนี้ ผู้เคยติดต่อสัมผัสกับผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่จำนวนกว่า 400 คนที่ถูกกักตัวเพื่อดูอาการในระยะแรก ทั้งที่ได้รับและไม่ได้รับต้านไวรัส พบว่าไม่แสดงอาการติดเชื้อ สำหรับการติดต่อสัมผัสกับผู้ป่วยสามรายนั้น พบว่ามีความเสี่ยงเพียงเล็กน้อยที่จะติดเชื้อ ข้อมูลทางการแพทย์ชี้ให้เห็นว่าปริมาณเชื้อไวรัสของผู้ที่ติดเชื้อและความ เสี่ยงในการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นก่อนแสดงอาการของโรคอยู่ในระดับต่ำมาก วิธีการรักษาผู้ป่วยยังรวมถึงการใช้ยาโอเซลทามิเวียร์เพื่อควบคุมปริมาณ เชื้อไวรัสในตัวผู้ป่วยและลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไวรัสสู่ผู้อื่น โดยเฉพาะเมื่อใช้ยาร่วมกับการดูแลรักษาร่างกายตนเองที่เพียงพอ อาทิ สวมหน้ากาก และรักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะมือ
มาตรการควบคุมโรคในระยะสุดท้าย
ในขณะที่โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกและลุกลามใน ทวีปอเมริกาเหนือรวมถึงประเทศใกล้เคียงอย่างญี่ปุ่นซึ่งมีการแพร่ระบาดใน ชุมชน เราได้ประเมินสถานการณ์ในฮ่องกงขณะนี้ว่ากำลังอยู่ในช่วงการควบคุมระยะสุด ท้ายของมาตรการควบคุมโรค และอาจเข้าสู่ช่วงการบรรเทาโรคหากตรวจพบว่ามีชาวฮ่องกงติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่เป็นรายแรก
สำหรับมาตรการควบคุมโรคในระยะสุดท้าย จะให้ยาป้องกันโรคภายใต้การสังเกตโดยตรงร่วมกับการเฝ้าระวังทางการแพทย์ ซึ่งจะต้องบันทึกเป็นรายงานประจำวันและรายงานต่อสถานรักษาพยาบาลภายใต้กรมอนามัยเพื่อทำการตรวจสอบทางการแพทย์และการให้ยาป้องกัน ทั้งนี้ เพื่อรับรองการให้ยาป้องกันโรคและการตรวจสอบอาการติดเชื้อโดยกรมอนามัย บุคคลที่ได้รับยาป้องกันโรคภายใต้การสังเกตโดยตรงร่วมกับการเฝ้าระวังทางการ แพทย์จะต้องได้รับการปฏิบัติถูกต้องตามมาตรฐานกฎระเบียบหากไม่ได้รับการกัก ตัว ผู้ที่อยู่ภายใต้การเฝ้าระวังทางการแพทย์จะได้รับคำแนะนำในการดูแลและ ป้องกันตัวเอง โดยแนะนำให้หลีกเลี่ยงการออกไปในสถานที่สาธารณะ สวมหน้ากาก และรักษาอนามัยส่วนตัว ผู้ที่ไม่ได้รับการให้ยาป้องกันภายใต้การสังเกตโดยตรงและอยู่ภายใต้การเฝ้า ระวังทางการแพทย์จะถูกกักตัว และอาจถูกจัดอยู่ในสถานการณ์พิเศษหากมีความจำเป็น
มาตรการชะลอการแพร่และบรรเทาความเสียหาย
ในขณะนี้ยังไม่พบชาวฮ่องกงที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ โดยเราจะยังคงใช้มาตรการพื้นฐานคือการเฝ้าระวังโรคทางการแพทย์และการให้ยา ป้องกันแก่ผู้ที่ได้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยเพื่อชะลอการแพร่กระจาย สำหรับในระยะการชะลอการแพร่และบรรเทาความเสียหายนี้ จะมีการใช้มาตรการทางสาธารณสุขที่จำเป็นหลายมาตรการด้วยกัน อาทิ การป้องกันการติดโรคด้วยตนเอง เช่น การดูแลความสะอาดของมือเพื่อป้องกันการแพร่กระจาย การใช้หน้ากากอนามัย การดูแลตัวเองของผู้ที่มีอาการป่วย การดูแลความสะอาดของสิ่งแวดล้อม การจำกัดพื้นที่ ซึ่งรวมถึง การปิดโรงเรียน แผนฉุกเฉินในที่ทำงาน ยกเลิกกิจกรรมที่มีการรวมกันเป็นหมู่คณะ การสำรองยาต้านไวรัสเพื่อใช้รักษาผู้ป่วย การให้ยาป้องกันแก่เจ้าหน้าที่อนามัย และผู้ให้บริการในภาคสาธารณะ
นอกจากนี้ ยังมีมาตรการพิเศษสำหรับกรณีที่พบชาวฮ่องกงติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ ใหม่เป็นรายแรก เช่น การเปิดสถานรักษาพยาบาลพิเศษ 7 แห่งที่อยู่ภายใต้องค์การบริหารโรงพยาบาลฮ่องกง (Hospital Authority) สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการของโรค และการเพิ่มมาตรการการรักษาความสะอาดและสุขอนามัยของสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน พร้อมทั้งกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผนการรับมือไข้หวัดใหญ่สาย พันธุ์ใหม่ เป็นต้น
ทั้งนี้ สำหรับระยะการชะลอการแพร่และบรรเทาความเสียหาย อาจมีการยกระดับมาตรการและวิธีการในอนาคตให้เป็นมาตรการเดียวกันที่ปฏิบัติ ในระยะการแพร่ระบาด ในกรณีที่การติดต่อของโรคยังดำเนินต่อไปและเห็นได้อย่างชัดเจน มาตรการจำกัดพื้นที่และกักตัวหรือการเฝ้าระวังทางการแพทย์สำหรับผู้สัมผัส ใกล้ชิดกับผู้ป่วยอาจใช้ไม่เป็นผลอีกต่อไป จึงต้องเพิ่มความสำคัญกับมาตรการในระยะการชะลอการแพร่และบรรเทาความเสียหาย
www.ThaiPR.net
วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
H1N1 FLU: สกัดการแพร่กระจายของไข้หวัดใหญ่ 2009
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 26 พฤษภาคม 2009 16:14:31 น.
รัฐบาลเกาหลีใต้เปิดเผยว่า รัฐบาลจะทุ่มงบประมาณ 1.84 หมื่นล้านวอน หรือ 14.6 ล้านดอลลาร์ เพื่อส่งเสริมการดำเนินการโดยหน่วยงานต่างๆ เพื่อสกัดการแพร่กระจายของไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า กระทรวงยุทธศาสตร์และการเงิน จะใช้งบประมาณ 3.3 ล้านดอลลาร์ไปกับการคุมเข้มการกักบริเวณนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในประเทศ และอีก 7.3 ล้านดอลลาร์กับการตรวจวินิจฉัย และให้การรักษาผู้ติดเชื้อ ส่วนอีก 4 ล้านดอลลาร์ จะถูกนำไปใช้ในการให้ความรู้เรื่องไวรัสและโรคแก่ประชาชน
ทั้งนี้ กระทรวงได้เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่อีกประมาณ 200 รายกระจายตามสนามบินและท่าเรือทั่วประเทศ เพื่อนำกล้องตรวจวัดอุณหภูมิและอุปกรณ์วินิจฉัยอื่นๆ ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงที่เกาหลีใต้พบผู้ติดเชื้อในประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา โดยมีผู้ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 ชนิดเอ แล้ว 27 ราย"
วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
H1N1 FLU: ผู้เชี่ยวชาญชี้ยอดผู้ติดเชื้อหวัดสายพันธุ์ใหม่พุ่งสูงกว่าที่สื่อรายงาน
โดยการระบาดในยุโรปและเอเชียนั้นแสดงให้เห็นว่าจะมีการระบาดที่ขยายวงกว้างเพิ่มขึ้นในอีก 3 ทวีป
ศูนย์ควบคุมและป้องกันเชื้อโรคของสหรัฐระบุว่าในทุกๆ 20 คนจะพบผู้ติดเชื้อ 1 คน
ซึ่งหมายความว่าประชาชนกว่า 100,000 คนทั่วประเทศอาจติดเชื้อไวรัสชนิด A (H1N1) ก็เป็นได้
ขณะที่ในอังกฤษนั้นมีการตั้งข้อสังเกตุว่า อาจมีจำนวนผู้ติดเชื้อมากกว่าที่ทางการรายงานมา
โดยผู้เชี่ยวชาญคาดว่า ยอดผู้เสียชีวิตและผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลช่วงฤดูร้อนนี้จะมีจำนวนสูงขึ้น
หลังจากที่ขณะนี้สหรัฐรายงานยอดผู้ติดเชื้ออย่างเป็นทางการทั้งสิ้น 6,552 ราย
แต่เขาคาดว่าที่จริงแล้วอาจมีผู้ติดเชื้อกว่า 100,000 รายในสหรัฐ
ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า
ขณะนี้มีรายงานยืนยันจำนวนผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่อยู่ที่ 12,022 รายใน 43 ประเทศ
ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 86 ราย โดยส่วนมากเป็นผู้ติดเชื้อในเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา
ซึ่งเป็นต้นตอของการแพร่ระบาดดังกล่าว และผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มักมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัดทั่วไป
ด้านสถานการณ์การระบาดในเอเชียนั้น ปรากฏว่าล่าสุดเกาหลีใต้ยืนยัน
ยอดผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เพิ่มอีก 12 รายในวันนี้ ส่งผลให้มียอดผู้ติดเชื้อทั้งสิ้น 22 ราย
ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขจีนกล่าวว่า
ชายวัย 46 ปีที่เดินทางกลับจากแคนาดาเมื่อวันที่ 21 พ.ค.ที่ผ่านมาเป็นผู้ป่วยรายที่ 9 ในประเทศ
ส่วนญี่ปุ่น ซึ่งมีรายงานว่าพบผู้ติดเชื้อมากที่สุดในเอเชีย เริ่มเปิดโรงเรียนเพื่อ
ทำการเรียนการสอนตามปกติ หลังจากเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่า
กลุ่มผู้ติดเชื้อไม่ปรากฏโรคแทรกซ้อนร้ายแรง
ณะที่ จิม บิชอฟเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขของออสเตรเลียคาดว่าจำนวนผู้ติดเชื้อ
ะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หลังมีรายงานยืนยันว่ามีชาวออสเตรเลียติดเชื้อแล้ว 17 ราย
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงาน
อินโฟเควสท์
แปลและเรียบเรียงโดย อรษา สงค์พูล/ปนัยดา โทร.0-2253-5050 ต่อ 323
วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (Influenza A H1N1)
* เป็นโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในคน แพร่ติดต่อระหว่างคนสู่คน
* ไม่พบว่ามีการติดต่อมาจากสุกร
* เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 (A/H1N1) ซึ่งเป็นเชื้อตัวใหม่ที่ไม่เคยพบทั้งในสุกรและในคน
* เป็นเชื้อที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ ซึ่งมีสารพันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่คน ไข้หวัดใหญ่สุกร และไข้หวัดใหญ่สัตว์ปีกด้วย
* เริ่มพบการระบาดที่ประเทศเม็กซิโก และแพร่ไปกับผู้เดินทางไปในอีกหลายประเทศ
* ระยะแรก กระทรวงสาธารณสุขใช้ชื่อโรคนี้ว่า “โรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโก” และเมื่อองค์การอนามัยโลกได้ประกาศชื่อเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมา จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1” และใช้ชื่อย่อว่า “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009”
เหตุใดจึงไม่ใช้คำว่าไข้หวัดสุกร (Swine flu)
* เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ใหม่ ในการรายงานโรคนี้ช่วงแรกในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Swine Flu” หรือไข้หวัดใหญ่สุกร
* โดยปกติแล้ว ไข้หวัดใหญ่สุกรเป็นโรคทางเดินหายใจที่เกิดขึ้นในสุกร มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่หลายชนิด เช่น H1N1, H1N2, H3N1 และH3N2 แต่ละชนิดมีหลากหลายสายพันธุ์
* ตามปกติการเกิดโรคในสุกร บางครั้งอาจมีผู้ติดเชื้อจากสุกรและป่วยซึ่งเกิดไม่บ่อยนัก การติดเชื้อเกิดโดยคนหายใจเอาละอองฝอยเมื่อสุกรไอ หรือจาม เข้าไป หรือการสัมผัสกับสุกร หรือสิ่งแวดล้อมที่สุกรอาศัยอยู่
* อย่างไรก็ตามเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโกนี้ ผลการตรวจวิเคราะห์ในระดับพันธุกรรมพบว่า เป็นเชื้อสายพันธุ์ใหม่ที่พบในคน และยังไม่เคยพบในสุกรมาก่อน และการระบาดดังกล่าว ไม่มีรายงานโรคนี้ระบาดในสุกรทั้งในเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา และผลการสอบสวนโรค ไม่พบผู้ใดติดโรคจากสุกร หากแต่เป็นการแพร่กระจายโรคจากคนสู่คนเท่านั้น
* ต่อมาวันที่ 1 พฤษภาคม 2552 องค์การอนามัยโลกได้เปลี่ยนการเรียกชื่อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่จากที่เคยเรียกว่า ไข้หวัดสุกร หรือ สไวน์ ฟลู (Swine Flu) และไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก เป็น “ไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1” (Influenza A H1N1)
* กระทรวงสาธารณสุขไทยจึงเปลี่ยนมาใช้ชื่อ “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1” และชื่อย่อว่า “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009” เพื่อสื่อให้ประชาชนเกิดความเข้าใจตรงกัน ไม่สับสนกับไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 ที่เกิดตามฤดูกาล ซึ่งเป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่คนละตัวกัน
เกิดการระบาดขึ้นที่ประเทศใดบ้าง
* ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมีนาคม 2552 เป็นต้นมา เริ่มพบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่และผู้ป่วยปอดบวม จากข้อมูลองค์การอนามัยโลก (ณ วันที่ 29 เมษายน 2552) มีผู้ป่วยที่มีผลยืนยัน ทางห้องปฏิบัติการ 257 รายใน 11 ประเทศ ในเม็กซิโก 97 ราย เสียชีวิต 7 ราย สหรัฐอเมริกา มีผู้ป่วย 109 รายใน 11 มลรัฐ ได้แก่ แคลิฟอร์เนีย 14 ราย เท็กซัส 26 ราย นิวยอร์ก 50 ราย แคนซัส 2 ราย แมสซาชูเซทส์ 2 ราย มิชิแกน 1 ราย โอไฮโอ 1 ราย อริโซนา 1 ราย อินเดียนา 1 ราย และ เนวาดา 1 ราย นอกจากนั้นยังพบผู้ป่วยติดเชื้อในออสเตรีย 1ราย แคนาดา 19 ราย เยอรมนี 3 ราย อิสราเอล 2 ราย เนเธอร์แลนด์ 1 ราย นิวซีแลนด์ 3 ราย สเปน 13 ราย และ สหราชอาณาจักร 8 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
* ท่านสามารถติดตามรายงานสถานการณ์โรคได้ที่ สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เคยพบเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้มีในประเทศไทยหรือไม่
* จากระบบการเฝ้าระวังโรคของประเทศ รวมทั้งการเฝ้าระวังผู้ป่วยและการเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการ ไม่เคยพบเชื้อสายพันธุ์ใหม่ดังกล่าวนี้
* ข้อมูลโรคไข้หวัดใหญ่ตั้งแต่ต้นปี 2552 จนถึงขณะนี้ พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์อื่น ๆ ตามฤดูกาล จำนวน 3,159 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต ซึ่งไม่แตกต่างกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2551
คนติดโรคนี้ได้อย่างไร
* คนส่วนใหญ่ติดโรคไข้หวัดใหญ่จากการถูกละอองฝอยไอจาม น้ำมูก น้ำลาย ของผู้ป่วยโดยตรง
* บางรายอาจได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น ผ้าเช็ดหน้า ลูกบิดประตู โทรศัพท์ แก้วน้ำ เป็นต้น
* ไม่มีรายงานการติดต่อจากการรับประทานเนื้อสุกร
ขณะนี้สามารถรับประทานเนื้อหมูหรือผลิตภัณฑ์จากหมู ได้อย่างปลอดภัยหรือไม่
* การบริโภคเนื้อหมูหรือผลิตภัณฑ์จากหมูที่ปรุงสุกนั้นปลอดภัย ไม่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้
* เนื่องจากไม่ใช่เชื้อไข้หวัดใหญ่สุกรตัวดั้งเดิมที่พบในสุกร ซึ่งแม้เป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่สุกรตัวดั้งเดิม การติดต่อจากสุกรก็เกิดได้น้อยมาก และติดต่อโดยการสัมผัสกับน้ำมูกน้ำลายสุกรป่วยเป็นหลัก
* นอกจากนั้น เชื้อไว้รัสไข้หวัดใหญ่ก็จะถูกทำลายได้ด้วยความร้อนจากการปรุงอาหารที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไปด้วย
อาการของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่มีอะไรบ้าง
* อาการใกล้เคียงกับอาการโรคไข้หวัดใหญ่ที่พบตามปกติ เช่น
- ไข้สูง
- ปวดศีรษะ
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- ไอ
- เจ็บคอ
- อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสียด้วย
* ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง สามารถหายป่วยโดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล แต่ผู้ป่วยหลายรายในเม็กซิโกมีอาการปอดอักเสบรุนแรง (หอบ หายใจลำบาก) และเสียชีวิต
มียาชนิดใดบ้างที่สามารถรักษาโรคนี้ได้
* ยาต้านไวรัสซึ่งใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่นี้ได้ผล คือ ยาโอเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) เป็นยาชนิดกิน และยา zanamivir เป็นยาชนิดพ่น
* แต่ผลการตรวจเชื้อไวรัสนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าเชื้อนี้ดื้อต่อยาต้านไวรัส amantadine และ rimantadine
* ยาต้านไวรัส oseltamivir จะให้ผลรักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ได้ดีที่สุด ถ้าผู้ป่วยได้รับยาเร็วภายใน 2 วันนับตั้งแต่เริ่มมีไข้
ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) ในไทย ขณะนี้มีพอเพียงหรือไม่
* ประเทศไทยได้สำรองยานี้ไว้พอเพียงสำหรับการรักษาผู้ป่วย ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรคได้สำรองยาที่นี้ไว้พอเพียง เพื่อการควบคุมการระบาดจากเชื้อสายพันธุ์ใหม่ ณ จุดเกิดเหตุ โดยสำรองยาพร้อมใช้ทั่วประเทศจำนวน 3,250,000 แคปซูล (สำหรับผู้ป่วย 325,000 ราย)
* และองค์การเภสัชกรรมกำลังนำวัตถุดิบที่สำรองมาผลิตยานี้ (GPO-A-Flu®) ได้สำหรับ 1,000,000 แคปซูล (สำหรับผู้ป่วย 100,000 ราย) ในอีก 4 วันข้างหน้า
* นอกจากนี้ ยังพร้อมที่จะเพิ่มกำลังการผลิตสูงสุดหากเกิดการระบาดใหญ่ ได้อีก 1,000,000 แคปซูล (สำหรับผู้ป่วย 100,000 ราย) ด้วย
มีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่นี้หรือไม่
* ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ แต่องค์การอนามัยโลกได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและบริษัทผู้ผลิต เร่งการผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ดังกล่าว
* ส่วนวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่ผลิตใช้อยู่ในปัจจุบันไม่สามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ได้
ก่อนเดินทางไปในพื้นที่ระบาด จะต้องรับประทานยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ เพื่อการป้องกันหรือนำยาติดตัวไปด้วยหรือไม่
* ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์เป็นยาควบคุมพิเศษ ใช้เพื่อการรักษาโรคตามคำสั่งของแพทย์ โดยต้องมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่ชัดเจน
* สำหรับประชาชนทั่วไปหรือผู้ที่จะเดินทางไปพื้นที่ระบาด กระทรวงสาธารณสุข ไม่แนะนำให้รับประทานยาเพื่อป้องกัน หรือนำติดตัวไปรับประทานเอง เนื่องจากยาดังกล่าวอาจมีผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ เป็นต้น และอาจเป็นสาเหตุเชื้อดื้อยาได้
การเดินทางไปยังพื้นที่ระบาด ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลก่อนไปหรือไม่
* ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานว่า วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลจะป้องกัน
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 ได้
* อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรังควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกัน
ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลก่อนเดินทางอย่างน้อย 2 สัปดาห์
ประชาชนควรปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง
1. การเดินทางไปยังพื้นที่ที่กำลังเกิดการระบาด
* หากไม่มีความจำเป็น ควรชะลอการเดินทางไปยังพื้นที่ที่กำลังเกิดการระบาดจนกว่าสถานการณ์จะยุติลง
* แต่ถ้าจำเป็นต้องเดินทาง ให้
- หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการไอ
- หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด
- หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อย ๆ หรือเช็ดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์
- ติดตามข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน
- ปฏิบัติตามข้อแนะนำของทางการในพื้นที่นั้นๆ อย่างเคร่งครัด
2. ผู้ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่เกิดการระบาด
* จะได้รับการแนะนำด้านสุขภาพจากทีมแพทย์ โดยให้หยุดพักผ่อนอยู่ที่บ้าน
เป็นเวลา 7 วัน และสังเกตอาการตนเองทุกวัน
* หากเกิดอาการของไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ ปวดเมื่อยเนื้อตัว ฯลฯ ควรสวมหน้ากากอนามัย
หรือใช้กระดาษทิชชูปิดปากจมูกทุกครั้งที่ไอจาม และรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที
* กรณีที่อาการไม่รุนแรง แพทย์จะอนุญาตให้รักษาตัวที่บ้านได้ ควรหยุดงาน หยุดเรียน
และงดไปในที่ชุมชน เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายเชื้อให้กับผู้อื่น
3. รักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดย
3.1 รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักและผลไม้
ดื่มน้ำสะอาดและนอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และสุรา
3.2 หมั่นล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการไอ จาม
3.3 หากพบว่ามีผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายโรคไข้หวัดใหญ่ภายในบ้าน หรือสถานที่ทำงานเดียวกัน
ต้องรีบแจ้งสำนักงานสาธารณสุข หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
เพื่อทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วและหน่วยงานรับผิดชอบเข้าดำเนินการป้องกันการแพร่ระบาดทันที
4. ติดตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด
* รวมทั้งข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข www.moph.go.th
* หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมงที่
- ศูนย์บริการข้อมูลทางฮ็อตไลน์ของศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน
ทางการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 1994
- ศูนย์ปฏิบัติการ ฯ กรมควบคุมโรค หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 3333
กระทรวงสาธารณสุขมีมาตรการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคนี้อย่างไรบ้าง
มาตรการสำคัญ ได้แก่
* การเร่งรัดและเพิ่มระดับความเข้มข้นการเฝ้าระวังโรคกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่และปอดอักเสบรุนแรง
* การตรวจคัดกรองผู้เดินทางระหว่างประเทศโดยติดตั้งเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิผู้เดินทาง
(Infrared Thermo Scanner) ที่สนามบินนานาชาติ
* การตรวจยืนยันเชื้อทางห้องปฏิบัติการ การดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย สำรองเวชภัณฑ์
อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ และอุปกรณ์อื่นที่จำเป็น
* การสื่อสารความเสี่ยง
* การให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ และให้บริการข้อมูลแก่ประชาชนผ่านศูนย์ฮ็อตไลน์
จัดทำข่าวแจก จัดการแถลงข่าว และจัดทำคำแนะนำประชาชนเผยแพร่ทางเว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น
หน้ากากอนามัยใช้ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดได้หรือไม่
* หน้ากากอนามัยทั่วไปใช้ในผู้ป่วย และบุคลากรที่ปฏิบัติงานกับผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่รุนแรง
* ควรใช้หน้ากากอนามัยชนิดพิเศษ ซึ่งจะช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อจากผู้ป่วยขณะไอจามได้
ผู้ป่วยต้องรับการรักษาที่ใด
* ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการตรวจรักษา หรือรับคำปรึกษาได้ที่สถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ทุกแห่ง
ทั้งภาครัฐและเอกชน
* หากมีอาการอ่อนๆ ควรขอรับคำแนะนำและรับยาจากเภสัชกร และรักษาตัวที่บ้าน
หรือขอรับคำแนะนำจากศูนย์ฮ็อตไลน์กรมควบคุมโรค
บุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องดูแลรักษาผู้ป่วย ควรปฏิบัติอย่างไร
ท่านสามารถติดตามข้อมูล และ รายละเอียดมาตรการป้องกันควบคุมโรคสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ได้ที่
สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ยอดติดเชื้อหวัดทะลุ1.2หมื่น ฮูแย้มวัคซีนพร้อมใช้เดือนหน้า
ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทั่วโลก พุ่งทะลุหลัก 12,000 คน ขณะที่รัสเซียพบผู้ติดเชื้อรายแรก องค์การอนามัยโลก เผยวัคซีนต้านไข้หวัดใหญ่มรณะพร้อมใช้เดือนหน้า
วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
H1N1 FLU: สธ.เตรียมทดสอบการดื้อยาโอเซลทามิเวียร์รักษาโรคหวัด 2009
เผยเตรียมทดสอบการดื้อยาของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 กับยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์
แม้จะพบว่าเชื้อที่ดื้อยาส่วนใหญ่เป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ซึ่งคาดจะใช้เวลาดำเนินการไม่เกิน 1 เดือน
'ในส่วนของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 กระทรวงสาธารณสุขจะทำการทบทวน
และนำเชื้อทดสอบมาทดสอบกับยาโอเซลทามิเวียร์ เนื่องจากขณะนี้ได้ทำการแยกเชื้อ
จากผู้ป่วยที่ยืนยัน 2 รายได้แล้ว คาดว่าจะใช้เวลาทดสอบไม่เกิน 1 เดือน' นพ.ไพจิตร์ วราชิต
รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะทำงานฯ กล่าวถึงประเด็นที่ระบุว่า
เชื้อไข้หวัดใหญ่ในไทย 70% มีปัญหาดื้อยาโอเซลทามิเวียร์
รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เพื่อความไม่ประมาทและความรอบคอบในการใช้ยาตัวนี้
กระทรวงสาธารณสุขได้ประชุมชี้แจงแพทย์ผู้ให้การรักษาทั่วประเทศแล้ว 1 ครั้ง และพยายามลดการใช้ยา
กำหนดให้ใช้ได้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น โดยเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่อยู่ในห้องปฏิบัติการอยู่ใน
ความดูแลของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และห้องปฏิบัติการคณะแพทยศาสตร์ 2 แห่ง อยู่ในระดับ 3
ซึ่งเป็นระดับที่มีความปลอดภัยอย่างมากตามมาตรฐานสากลเช่นเดียวกับการดูแลเชื้อไข้หวัดนก
สำหรับในประเทศไทยขณะนี้มีผู้ป่วยอยู่ในข่ายเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นเป็น 22 ราย ซึ่งถือเป็นเรื่องดี
ต่อระบบการเฝ้าระวังของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แสดงว่าประชาชนรู้ข้อมูลและให้ความร่วมมือ
ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขมากขึ้น โดยหลังจากกลับจากต่างประเทศที่เป็นพื้นที่เสี่ยง
เมื่อมีไข้ก็เดินทางมาพบแพทย์ทันที การที่มีผู้ป่วยในข่ายเฝ้าระวังจำนวนมากขึ้นไม่ได้หมายความว่าประเทศไทย
มีโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่แพร่ระบาดในพื้นที่
ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยต่างชาติอยู่ในข่ายเฝ้าระวัง 3 ราย ประกอบด้วย ชาวสวีเดน 2 ราย
และมาจากฮ่องกง 1 ราย
โดยชาวสวีเดนอาศัยอยู่ในเมืองไทยเดินทางไปที่อินโดนีเซีย 14 วัน และไปที่มาเลเซียด้วยก่อนเข้าประเทศไทย
เมื่อวิเคราะห์ประวัติและเส้นทางเดินทางของชาวสวีเดนรายนี้ไม่น่าห่วง ซึ่งกำลังตรวจสอบตัวอย่างที่ส่งมาจาก
โรงพยาบาลสมุทรปราการว่าติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่หรือไม่ ส่วนรายฮ่องกงนั้นจัดเป็นผู้ป่วยที่อยู่ในระบบตามปกติ"
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าวคุณภาพจาก infoquest
วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
H1N1 FLU: เม็กซิโกยกเลิกคำสั่งห้ามเกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในเมืองหลวง
ในเมืองเม็กซิโก ซิตี้ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศแล้ว
ส่งผลให้ประชาชนไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ
นายมาร์เซโล เอบราด นายกเทศมนตรีเม็กซิโก ซิตี้ กล่าวว่า
จนถึงขณะนี้ยังไม่รายงานเรื่องผู้ติดเชื้อรายใหม่ในเม็กซิโก ซิตี้
ในช่วงระยะเวลา 1 สัปดาห์ โดยยอดผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ในเม็กซิโก
ล่าสุดอยู่ที่ 78 ราย และมีผู้ติดเชื้อแล้วประมาณ 4,000 ราย
ในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่อย่างหนักในประเทศนั้น
ทางการเม็กซิโกได้สั่งปิดโรงเรียน บาร์ และโรงหนัง เป็นเวลา 5 วัน
แต่ต่อมาก็ได้ยกเลิกคำสั่งห้ามดังกล่าว
นายกเทศมนตรีเม็กซิโก ซิตี้ กล่าวว่า ทางการได้ลดระดับการเตือนภัย
จากระดับสีเหลืองมาเป็นระดับสีเขียว ซึ่งเป็นระดับการเตือนภัยในระดับต่ำสุด
พร้อมกับยอมรับว่า ตอนนี้ทางการสมารถเบาใจได้ในระดับหนึ่ง
ตอนนี้สามารถเดินทางเข้ามาในเม็กซิโก ซิตี้ ได้โดยไม่มีความเสี่ยงแล้ว
อย่างไรก็ดี ขอให้ประชาชนตื่นตัวรับฟังข่าวสารเอาไว้
องค์การอนามัยโลก (BBC) ระบุว่า มีประเทศ 41 ประเทศทั่วโลกที่พบผู้ติดเชื้อ
ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ จำนวน 11,034 ราย มีผู้เสียชีวิตแล้ว 85 ราย
บีบีซีรายงาน"
ขอขอบคุณข่าวคุณภาพจาก
infoquest
วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
ผู้ติดเชื้อ H1N1 ญี่ปุ่นทะลุ 200 รายแล้ว
ผู้ป่วยต้องสงสัยติดเชื้อ H1N1 ในไทย 22 ราย
องค์การอนามัยโลกร่วมประชุมที่นครเจนีวา เตรียมรับมือกับการระบาดของไข้หวัดใหญ่ A-H1N1 Audio Clip Available
วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
WHO เรียกชื่อใหม่ เป็น ไข้หวัดใหญ่ A (H1N1)
องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศว่า นับจากนี้ไป
WHO จะเรียกชื่อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่มีต้นตอในเม็กซิโก
และได้แพร่ระบาด ลุกลามไปในหลายภูมิภาคของโลกว่า
“ไข้หวัดใหญ่ A (H1N1)” หรือ influenza A (H1N1)
จากที่เคยเรียกว่า “ไข้หวัดหมู” หรือ swine flu
เนื่องจากชื่อเดิมได้สร้างความสับสนว่าโรคดังกล่าวเกิดจากหมู
ทั้งที่จริงแล้วไวรัสนี้เกิดจากการการรวมกันของไวรัสในหมู คน และนก
จึงทำให้เกิดไวรัสกลายพันธุ์
WHO ชี้แจงด้วยว่า ขณะนี้ ได้ตรวจพบเชื้อไวรัสนี้ในคนเท่านั้น
และไม่พบว่าหมูป่วยเป็นโรคนี้ ดังนั้นการบริโภคเนื้อหมูที่ปรุงสุก
จึงไม่มีความเสี่ยงติดเชื้อไวรัส
พร้อมกันนี้ ยังได้มีการนำภาพหมูออกจากเว็บไซต์ www.who.int/en ด้วย
ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกได้รับแรงกดดันจากผู้เลี้ยงสุกรและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งได้รับผลกระทบหลังจากที่หลายประเทศได้ระงับการนำเข้าเนื้อหมูจากสหรัฐ อเมริกาและเม็กซิโก
เนื่องจากเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ดังกล่าวมาก ที่สุด
และมีผู้เสียชีวิตแล้วด้วย
ความเคลื่อนไหวของ WHO ในครั้งนี้ยังมีขึ้นหลังจากที่วานนี้
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐ ออกแถลงการณ์ที่ทำเนียบขาวว่า
รัฐบาลสหรัฐตัดสินใจเปลี่ยนชื่อไวรัสไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก
หรือไข้หวัดหมู (swine flu) เป็น “ไข้หวัดใหญ่ 2009 H1N1″
เพื่อแก้ความเข้าใจผิดที่ว่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้เกิดจากหมู
จนทำให้บางประเทศยกเลิกนำเข้าเนื้อหมูจากสหรัฐ
การป้องกันโรค ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เม็กซิโก (ไข้หวัดหมู,H1N1)
-หลีกเลี่ยงการไปตลาดค้าสัตว์ รวมถึงฟาร์มสุกรในพื้นที่เกิดโรค
-ห้ามสัมผัสสิ่งที่อาจปนเปื้อนมูลของสุกร
-ห้ามสัมผัสกับสุกรที่ป่วยหรือตาย
คำแนะนำสำหรับการปรุงอาหารจากหมู
-ป้องกันไม่ให้อาหารที่ปรุงสุกแล้วสัมผัสกับอาหารที่ยังไม่ได้ปรุง
-ล้างมือทุกครั้งก่อนและหลังทำอาหาร
-อาหารประเภทหมูต้องปรุงให้สุกเสมอ ใช้อุณหภูมิในการปรุงสุก มากกว่า 70 องศาเซลเซียส
-หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อหมู เลือดหมูสดในอาหารจำพวก ลาบดิบ หลู้ รวมถึงเนื้อหมู สุกๆดิบๆ
ต้องมีสุขอนามัยที่ดีเพื่อป้องกันโรค
-ล้างมือเป็นประด้วยสบู่และน้ำสะอาด
-ปิดปากเมื่อไอหรือจาม
-เมื่อเป็นไข้หวัด ควรใช้ผ้าปิดปาก จมูก และไปพบแพทย์
-ห้ามถ่มน้ำลา หรือเสมหะ ในที่สาธารณะ
-ใช้ช้อนกลาง เมื่อรับประทานอาหารร่วมกัน
ระมัดระวังเมื่อเดินทางไปพื้นที่เสี่ยง
-หากจำเป็นต้องไปในพื้นที่เสี่ยง ควรพบแพทย์เพื่อรับการฉีดวัคซีน
-ป้องกันไข้หวัดใหญ่ เพราะหากเราป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่แล้วได้รับเชื้อไข้หวัดหมู
เชื้ออาจกันและกลายพันธุ์ได้
-ควรหลีกเลี่ยง
- การสัมผัสสุกร
- การสัมผัสสุกร
- การสัมผัสคนที่มีอาการป่วย
สอบถามหรือค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซท์ของกระทรวงสาธารณสุข
*โหลดไฟล์ PDF เพื่อนำไปปรินท์เป็นเอกสารเพื่อเผยแพร่
การรักษาไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เม็กซิโก (ไข้หวัดหมู,H1N1)
-ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค (ข้อมูล ณ วันที่ 28 เมษายน 2552 )
-วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เดิม ไม่สามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์นี้ได้
-ในปัจจุบัน มียา 2 ชนิดที่สามารถลดความรุนแรงและระยะเวลาการป่วยที่มีสาเหตุมาจากไวรัส
ไข้หวัดสายพันธุ์นี้ ได้แก่ยา Oseltamivir (Tamiflu) Zanamivir (Relenza)
แต่เชื้อโรคมีแนวโน้มดื้อยาได้
*โหลดไฟล์ PDF เพื่อนำไปปรินท์เป็นเอกสารเพื่อเผยแพร่
การแพร่กระจายของโรค ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เม็กซิโก (ไข้หวัดหมู, H1N1)
-เชื้อไวรัสอยู่ในมูลและสารคัดหลั่งจากตัวหมู ซึ่งมีอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานหลายวัน
-คนติดเชื้อจากสัตว์โดย
- สัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่ป่วยหรือตายด้วยโรคนี้
- สัมผัสสิ่งแวดล้อมทีปนเปื้อนเชื้อในพื้นที่ๆเกิดการระบาด
-เชื้อไวรัสจะอยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย แพร่ไปยังผู้อื่น โดยอาการไอ
หรือ จามรดกันในระยะไกล้ชิด หรือติดจากมือ และสิ่งของที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่
และเชื้อเข้าสู่ร่างกายทางจมูกและตา เช่นการแคะจมูก การขยี้ตา
อาการ ผู้ติดไวรัส ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์เม็กซิโก
ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์เม็กซิโก มีอาการคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ เช่น
-มีไข้สูง เกิน 38 องศาเซลเซียส และ หนาวสั่น
-ปวดเมื่อยตามร่างกาย
-ไอแห้งๆและเจ็บคอ
-คัดจมูก มีน้ำมูกไหล
-ปวดศรีษะ
บางคนอาจมีอาการหายใจหอบตาอักเสบและอาจตามมาด้วยการติด
เชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง และปอดอักเสบตามลำดับ
*โหลดไฟล์ PDF เพื่อนำไปปรินท์เป็นเอกสารเพื่อเผยแพร่
ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เม็กซิโก-H1N1 คืออะไร
ไวรัส สายพันธ์ เอช 1 เอ็น 1 สาเหตุของโรค อาศัยอยู่ในสารคัดหลั่ง
และมูลของสุกร สามารถติดต่อและก่อให้เกิดโรคในคนได้
ดังนั้นผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค คือ ผู้ที่สัมผัสกับตัวสุกรโดยตรง และผู้ป่วยหรือ
ผู้ต้องสงสัยว่าป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เม็กซิโก
ที่สำคัญไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธ์นี้ สามารถแพร่ระบาดจากคนสู่คนได้ง่าย
*โหลดไฟล์ PDF เพื่อนำไปปรินท์เป็นเอกสารเพื่อเผยแพร่